วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

แบบฝึกหัดบทที่ 1-7

  
บทที่1 ความหมาย เทคโนโลยีสารสนเทศ


ความหมาย เทคโนโลยี
 
     พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 เทคโนโลยี หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์มาใช้ให้เกิด ประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
 ลเบรท (Galbraith 1967 : 12) เทคโนโลยีเป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่าง ๆ ที่รวบรวมไว้มาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ
      เดล ( Dale 1969 : 610) ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีประกอบด้วยผลรวมของการทดลอง เครื่องมือ และกระบวนการ ซึ่งสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดจากการเรียนรู้ ทดลองและได้ปรับปรุงแก้ไขมาแล้ว
    ดังนั้น เทคโนโลยี คือ การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มาทำให้เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีนับเป็นส่วนเสริมหรือตัวการพิเศษในระบบการดำรงอยู่ของมนุษย์ เราสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ทางที่เป็นประโยชน์เพื่อพัฒนาศักยภาพและคุณภาพ ชีวิตเราได้ เนื่องจากเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือขยายวิสัยอินทรีย์ของมนุษย์โดยนำมาใช้ใน งานสาขาต่าง ๆ ได้มากมาย เช่น วงการเกษตร ใช้เทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตและการถนอมพืชผล วงการแพทย์มีการผลิตเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย วิธีการรักษาโรคแบบใหม่ ๆ วงการธุรกิจ เช่นสำนักงานอัตโนมัติ ฯลฯ
สารสนเทศ
      สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับความจริงของคน สัตว์ สิ่งของ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม หากมีการจัดเก็บรวบรวมและสื่อสารระหว่างกัน หรือข้อมูลได้ถูกกระทำให้มีความสัมพันธ์หรือความหมาย ซึ่งนำไปใช้ประโยชน์ได้
      ครรชิต มาลัยวงศ์ ได้สรุปความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศตามการนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานสารสนเทศ แบ่งได้ 6 ประเภท ดังนี้ (ครรชิต มาลัยวงศ์ 2533 : 23)
1.เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศและพื้นผิวของโลก (Remote Sensing)กล้องถ่าย  ภาพ กล้องถ่ายวิดิทัศน์ เครื่องเอกซ์เรย์
2. เทคโนโลยีที่ใช้บันทึกข้อมูล จะเน้นสื่อที่ใช้บันทึก เช่น เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก จานเสียง หรือ
    จานเลเซอร์     บัตรเอทีเอ็ม
3. เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ได้แก่หน่วยประมวลผลกลาง และชุดคำสั่งต่าง ๆ
4. เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผล เช่น เครื่องพิมพ์ จอภาพ พล็อตเตอร์ ( Plotter) และอื่น ๆ
5. เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาสารสนเทศ เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม
6. เทคโนโลยีที่ใช้ในการถ่ายทอดสื่อสารข้อมูลและสารสนเทศ เช่น ระบบโทรคมนาคมต่าง ๆเช่นวิทยุโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง โทรศัพท์ โทรเลข โทรสาร ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

      ดังนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศ จึงหมายถึง การนำวิทยาการที่ก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร มาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น และรวมถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ในการรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการ สารสนเทศ ได้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอนวิธีการดำเนินการซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ ข้อมูล บุคลากร และกรรมวิธีดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด


แบบฝึกหัดท้ายบทที่  1
ข้อมูล (Data)
   - ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในระบบคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่ต้องป้อนเข้าไปในคอมพิวเตอร์ พร้อมกับโปรแกรมที่นักคอมพิวเตอร์เขียนขึ้นเพื่อผลิตผลลัพธ์ที่ต้องการออกมา ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ มี  5 ประเภท คือ ข้อมูลตัวเลข (Numeric Data) ข้อมูลตัวอักษร (Text Data) ข้อมูลเสียง (Audio Data) ข้อมูลภาพ (Images Data) และข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data) 

สารสนเทศ ( Information)
   - สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่มีสาระอยู่ในตัว สามารถสื่อความหมายให้เกิดการเข้าใจกับผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลนั้น และสามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้ การที่จะได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการนั้นจะต้องนำข้อมูล (data) ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ มาทำการประมวลผลเสียก่อน โดยข้อมูลที่นำมาประมวลผลนั้นอาจจะมาจากแหล่งข้อมูลทั้ง ภายในหรือภายนอกองค์การ

LAN
    - เป็น ลักษณะการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ถึงกันภายในพื้นที่ใกล้ ๆ กัน เครือข่าย LAN ออกแบบมาเพื่อให้บริการแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน ในส่วนต่างๆขององค์กรในบริเวณที่ไม่ไกลกันมาก เช่นอยู่ในอาคารเดียวกัน ระหว่างชั้นอาคาร สามารถดูแลได้เองโดยไม่ต้องใช้ระบบสื่อสารข้อมูลแบบอื่น การเชื่อมโยงเครือข่าย LAN มี 4 รูปแบบดังนี้
         1. Ethernet LAN  มีการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 10-1000 Mbps. ใช้พื้นฐาน Topology แบบบัส โดยอุปกรณ์ทุกอย่างจะเชื่อมต่อกันบนสายสัญญาณเส้นเดียว โดยต้องมีการจัดการเรื่องการสื่อสารไม่ให้รับส่งพร้อมกันเกินกว่าหนึ่งคู่ โดยให้อุปกรณ์ที่จะส่งข้อมูลตรวจสอบว่ามีข้อมูลใดวิ่งอยู่บนสายหรือไม่ หากไม่มีจึงส่งได้ และถ้ามีการชนกันของข้อมูลบนสายก็จะส่งใหม่
         2. Token Ring มีความเร็ว 16 Mbps เชื่อมต่อกันเป็นวงแหวนโดยแพ็กเกจข้อมูลจะวิ่งวนในทิศทางใดทางหนึ่ง ถ้าทราบแอดเดรสปลายทางแล้ว Token จะถูกระบุว่าปลายทางอยู่ไหน Token จะถูกส่งไปเลยๆจนเจอปลายทาง แล้ว Token จะถูกปล่อยเพื่อให้ผู้อื่นใช้ต่อไป อุปกรณ์นั้นจะรับข้อมูลไป การจัดการรับส่งข้อมูลในวงแหวนจึงเป็นไปอย่างมีระเบียบ
          3. ARCNET เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ Token-bus ในการจัดการ line sharing ระหว่างเครื่องลูกข่ายและอุปกรอื่นๆ เครื่องแม่ข่ายจะส่งเฟรมข้อความเปล่าไปตาม Bus เมื่ออุปกรณ์ต้องการจะส่งข้อมูลก็จะใส่ Token ไปด้วย ในเฟรมข้อมูลเปล่าจะที่ฝากข้อมูลไปด้วย เมื่ออุปกรณ์จุดหมายได้รับก็ใส่ Token เป็น 0 ลงไปแทน เฟรมนั้นก็จะพร้อมนำกลับมาใช้ได้ ใหม่
          4. FDDI (Fiber Distributed Data Interface) ทำงานบนสาย Fiber Optic ทำงานได้ระยะไกลถึง 200 กิโลเมตร ใช้ Protocol ของ Token Ring โดยจะมี Token Ring ซ้อนกัน 2 วง เป็น Back up กันและกันให้บริการได้ถึง 100 Mbps

MAN
    - MAN ย่อมาจาก Metropolitan Area Network คือ  เครือข่ายระดับเมือง ซึ่งเป็นเครือข่ายที่มักเชื่อมโยงกันเฉพาะในเขตเมืองเดียวกัน หรือหลายเขตเมืองที่อยู่ใกล้กัน ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ระบบเครือข่าย MAN เป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN ที่ นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงที่ใหญ่ขึ้นภายในพื้นที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้งานให้ครอบคลุมเมืองทั้งเมือง ซึ่งอาจเป็นเครือข่ายเดียวกัน เช่น เครือข่ายเคเบิลทีวี หรืออาจเป็นการรวมเครือข่ายกันของเครือข่าย LAN หลาย ๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน
      ตัวอย่าง เช่น ภายในมหาวิทยาลัยหรือในสถานศึกษาหนึ่งๆ จะมีระบบ MAN เพื่อเชื่อมต่อระบบ LAN ของแต่ละคณะวิชาเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียวกันในวงกว้าง เทคโนโลยีที่ใช้ในเครือข่าย MAN ได้แก่ ATM, FDDI และ SMDS ระบบเครือข่าย MAN ที่จะเกิดในอนาคตอันใกล้ คือระบบที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ภายในเมืองเข้าด้วยกันโดยผ่านเทคโนโลยี Wi-Max

WAN
   - WAN  ย่อมาจาก Wide Area Networks คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงกันในระยะทางที่ห่างไกลมาก เป็นหลาย ๆ กิโลเมตร ซึ่งอาจใช้เชื่อมโยงระหว่างเมือง หรือระหว่างประเทศ ดังนั้นความเร็วในการเชื่อมโยงระหว่างกันอาจไม่สูงมากนัก เพราะระยะทางไกลทำให้มีสัญญาณรบกวนได้สูง ความเร็วจึงอยู่ในระดับช่วง 9.6-64 Kbps และ 1.5-2 Mbps ขึ้นอยู่กับแอพพลิเคชั่นและขนาดของข้อมูล ผ่านสื่อที่เป็นตัวกลางรับ-ส่งข้อมูลเช่น สายเคเบิล หรือ ดาวเทียม เป็นต้น WAN ต่างกับ LAN ตรงที่สามารถเชื่อมโยงได้ในระยะทางที่ไกลมากกว่า

เครือข่าย WAN สามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ คือ
               1 . เครือข่ายส่วนตัว (private network) เป็นการจัดตั้งระบบเครือข่ายซึ่งมีการใช้งานเฉพาะองค์กร เช่น องค์กรที่มีสาขาอาจทำการสร้างระบบเครือข่าย เพื่อเชื่อมต่อระหว่างสำนักงานใหญ่กับสาขาที่มีอยู่ เป็นต้น การจัดตั้งระบบเครือข่ายส่วนตัวมีจุดเด่นในเรื่องของการรักษาความลับของ ข้อมูล สามารถควบคุมดูแลเครือข่ายและขยายเครือข่ายไปยังจุดที่ต้องการ ส่วนข้อเสียคือในกรณีที่ไม่ได้มีการส่งข้อมูลต่อเนื่องตลอดเวลา จะเสียค่าใช้จ่ายสูงมากเมื่อเทียบกับการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายสาธารณะ และหากมีการส่งข้อมูลระหว่างสาขาต่างๆ จะต้องมีการจัดหาช่องทางสื่อสารเชื่อมโยงระหว่างแต่ละสาขาด้วย ซึ่งอาจจะไม่สามารถจัดช่องทางการสื่อสารไปยังพื้นที่ที่ต้องการได้
                2. เครือข่ายสาธารณะ (PDN: public data network) หรือบางครั้งเรียกว่าเครือข่ายมูลค่าเพิ่ม (VAN: Value Added Network) เป็นเครือข่าย WAN ที่จะมีองค์กรหนึ่ง (third party) เป็นผู้ทำหน้าที่ในการเดินระบบเครือข่าย และให้เช่าช่องทางการสื่อสารให้กับ บริษัทต่างๆ ที่ต้องการสร้างระบบเครือข่าย ซึ่งบริษัทจะลดค่าใช้จ่ายของตนลงได้ เนื่องจากมีบุคคลอื่นมาช่วยแบ่งปันค่าใช้จ่ายไป ซึ่งจะนิยมใช้กันมาก เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการจัดตั้งเครือข่ายส่วนตัว สามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาในการจัดตั้งเครือข่ายใหม่ รวมทั้งมีบริการให้เลือกอย่าง หลากหลาย ซึ่งแตกต่างกันไปทั้งในส่วนของราคา ความเร็ว ขอบเขตพื้นที่บริการ และความเหมาะสมกับงานแบบต่าง ๆ

Cyberspace
   - Cyberspaceไซเบอร์สเปซ, คำซึ่งใช้ในความหมายทางจินตภาพของระบบเครือข่าย และมักใช้สื่อหมายถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะ, พื้นที่อิเล็กทรอนิกส์หรือภูมิประเทศเสมือนที่อยู่บนการสื่อสารแบบออนไลน์ คำนี้มีที่มาจากนวนิยายที่วิลเลียม กิปสัน เขียนไว้เรื่อง Neuromancer ในปี 1984 เป็นสถานที่เกิดเหตุในความคิดที่นำพามาโดยโมเด็ม อยู่ในโลกของคอมพิวเตอร์ออนไลน์และสังคมที่ใช้คอมพิวเตอร์, ขอบเขตหรือบริเวณเชื่อมต่อกันได้ด้วยระบบคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบ อินเทอร์เน็ต  

Mainframe

   - mainframe (เมนเฟรม) เป็นคำด้านอุตสาหกรรมสำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งผลิตโดยบริษัทขนาดใหญ่ เช่น IBM สำหรับการใช้งานทางธุรกิจในวัตถุประสงค์การคำนวณขนาดใหญ่ ในอดีตเมนเฟรม เป็นการคำนวณแบบส่วนกลาง ปัจจุบัน IBM อ้างถึงโพรเซสเซอร์ขนาดใหญ่ ในฐานะแม่ข่ายขนาดใหญ่ และสามารถใช้สำหรับผู้ใช้แบบกระจาย และแม่ข่ายขนาดเล็ก ในระบบเครือข่าย


Microcomputer

   - ไมโคร คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก บางคนเห็นว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานส่วนบุคคล หรือเรียกว่า พีซี (Personal Computer : PC) สามารถใช้เป็นเครื่องต่อเชื่อมในเครือข่าย หรือใช้เป็นเครื่องปลายทาง (terminal) ซึ่งอาจจะทำหน้าที่เป็นเพียงอุปกรณ์รับและแสดงผลสำหรับป้อนข้อมูลและดู ผลลัพธ์ โดยดำเนินการการประมวลผลบนเครื่องอื่นในเครือข่าย อาจจะกล่าวได้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์ คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยประมวลผลกลางเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ ใช้งานง่าย ทำงานในลักษณะส่วนบุคคลได้ สามารถแบ่งแยกไมโครคอมพิวเตอร์ตามขนาดของเครื่องได้ดังนี้
คอมพิวเตอร์ แบบตั้งโต๊ะ (desktop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กถูกออกแบบมาให้ตั้งบนโต๊ะ มีการแยกชิ้นส่วนประกอบเป็น ซีพียู จอภาพ และแผงแป้งอักขระ
      แล็ป ท็อปคอมพิวเตอร์ (laptop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่วางใช้งานบนตักได้ จอภาพที่ใช้เป็นแบบแบนราบชนิดจอภาพผนึกเหลว (Liquid Crystal Display : LCD) น้ำหนักของเครื่องประมาณ 3-8 กิโลกรัม
     โน้ต บุ๊คคอมพิวเตอร์ (notebook computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดและความหนามากกว่าแล็ปท็อป น้ำหนักประมาณ 1.5-3 กิโลกรัม จอภาพแสดงผลเป็นแบบราบชนิดมีทั้งแบบแสดงผลสีเดียว หรือแบบหลายสี โน้ตบุ๊คที่มีขายทั่วไปมีประสิทธิภาพและความสามารถเหมือน กับแล็ปท็อป
     ปาล์ม ท็อปคอมพิวเตอร์ (palmtop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์สำหรับทำงานเฉพาะอย่าง เช่นเป็นพจนานุกรม เป็นสมุดจนบันทึกประจำวัน บันทึกการนัดหมายและการเก็บข้อมูลเฉพาะบางอย่างที่สามารถพกพาติดตัวไปมาได้ สะดวก


เทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information Technology) เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทางด้านใดบ้าง
    - การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สภาพความเป็นอยู่ของสังคมเมือง มีการพัฒนาใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อติดต่อสื่อสารให้สะดวกขึ้น มีการประยุกต์มาใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน เช่น ใช้ควบคุมเครื่องปรับอากาศ ใช้ควบคุมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน การเกษตร เป็นต้น
    - เสริมสร้างความเท่าเทียมในสังคมและการกระจายโอกาส เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการกระจายไปทั่วทุกหนแห่ง แม้แต่ถิ่นทุรกันดาร ทำให้มีการกระจายโอการการเรียนรู้ มีการใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล การกระจายการเรียนรู้ไปยังถิ่นห่างไกล นอกจากนี้ในปัจจุบันมีความพยายามที่ใช้ระบบการรักษาพยาบาลผ่านเครือข่ายสื่อสาร เป็นต้น
    - สารสนเทศกับการศึกษา การเรียนการสอนในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษา จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน จัดระบบห้องสมุด จัดทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ปัญหาในโรงเรียน ปัจจุบันมีการเรียนการสอนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนมากขึ้น
    - เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่างจำเป็นต้องใช้สารสนเทศ เช่น การดูแลรักษาป่า จำเป็นต้องใช้ข้อมูล มีการใช้ภาพถ่ายดาวเทียม การติดตามข้อมูลสภาพอากาศ การพยากรณ์อากาศ การจำลองรูปแบบสภาวะสิ่งแวดล้อมเพื่อปรับปรุงแก้ไข การเก็บรวมรวมข้อมูลคุณภาพน้ำในแม่น้ำต่าง ๆ การตรวจวัดมลภาวะ ตลอดจนการใช้ระบบการตรวจวัดระยะไกลมาช่วย ที่เรียกว่าโทรมาตร เป็นต้น
    - เทคโนโลยีสารสนเทศกับการป้องกันประเทศ กิจการทางด้านการทหารมีการใช้เทคโนโลยี อาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และระบบควบคุม มีการใช้ระบบป้องกันภัย ระบบเฝ้าระวังที่มีคอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงาน
    - การผลิตในอุตสาหกรรม การพาณิชยกรรมและบริการ การแข่งขันทางด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมจำเป็นต้องหาวิธีการในการผลิตให้ได้มาก ราคาถูกลงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทมาก มีการใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหารและการจัดการ การดำเนินการและยังรวมไปถึงการให้บริการกับลูกค้า เพื่อให้ซื้อสินค้าได้สะดวกขึ้น


ตัวอย่างของระบบการสื่อสารในชีวิตประจำวันพร้อมทั้งอธิบายองค์ประกอบของระบบที่ยกตัวอย่างมาพอสังเขป
   - คอมพิวเตอร์ภาย ในระบบงานคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยที่มีหน้าที่เฉพาะ ทำงานประสานสัมพันธ์กัน เพื่อให้งานบรรลุตามเป้าหมาย ในระบบงานคอมพิวเตอร์ การที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียว จะยังไม่สามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง ซึ่งหากจะให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพแล้ว ระบบคอมพิวเตอร์ควรจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบคือ
บุคลากร (Peopleware)
ฮาร์ดแวร์(Hardware)
ซอฟต์แวร์(Software)    
ข้อมูล(Data)
สารสนเทศ(Information)    
และกระบวนการทำงาน ( Procedure )


เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อตัวคุณและการดำเนินชีวิตของคุณในด้านใดและอย่างไร
 
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตจะเป็นไปในทิศทางใด 

   - ด้านการดำเนินชีวิต
     ในด้านลบ เช่น การเรียนรู้อาจไม่ทันเพื่อน ตามไม่ทันการพัฒนาของเทคโนโลยีทำให้เราเป็นคนตกยุคไม่ทันสมัย
     ในด้านบวก เช่น ทำให้เราทำงานได้สะดวกรวดเร็ว ได้รู้รายละเอียดที่เราต้องการจะรู้เพิ่มมากขึ้น


สารสนเทศ ( Information)

การ พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในคริสต์ศตวรรษที่21มีแนวโน้มที่จะพัฒนาคอมพิวเตอร์ ให้มีความสามารถใกล้เคียงกับมนุษย์ เช่น การเข้าภาษาสื่อสารของมนุษย์ โครงข่ายประสาทเทียม ระบบจำลอง ระบบเสมือนจริง โดยพยายามนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้นลดข้อผิดพลาดและป้องกันไม่ให้นำไป ใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องหรือผิดกฎหมาย
      แนวโน้มใน ด้านบวก  


·           การ พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ช่องทางการดำเนินธุรกิจ เช่น การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การผ่อนคลายด้วยการดูหนัง ฟังเพลง และบันเทิงต่างๆ เกมออนไลน์ 
·           การ พัฒนาให้คอมพิวเตอร์สามารถฟังและตอบเป็นภาษา พูดได้ อ่านตัวอักษรหรือลายมือเขียนได้ การแสดงผลของคอมพิวเตอร์ได้เสมือนจริง เป็นแบบสามมิติ และการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส เสมือนว่าได้อยู่ในที่นั้นจริง 
·           การพัฒนาระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูล ฐานความรู้ เพื่อพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญและการจัดการความรู้  
·           การ ศึกษาตามอัธยาศัยด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) การเรียนการสอนด้วยระบบโทรศึกษา (tele-education) การค้นคว้าหาความรู้ได้ตลอด 24 ชั่วโมงจากห้องสมุดเสมือน (virtual library) 
·           การ พัฒนาเครือข่ายโทร คมนาคม ระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สาย เครือข่ายดาวเทียม ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทำให้สามารถค้นหาตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ  
·           การ บริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายการสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ดำเนินการของภาครัฐที่เรียกว่า รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government) รวมทั้งระบบฐานข้อมูลประชาชน หรือ e-citizen 
     แนวโน้มใน ด้านลบ  
·           ความ ผิดพลาดในการทำงานของระบบ คอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่เกิดขึ้นจากการออกแบบและพัฒนา ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบและสูญเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา 
·           การละเมิดลิขสิทธิ์ของทรัพย์สินทางปัญญา การทำสำเนาและลอกเลียนแบบ 
·           การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ การโจรกรรมข้อมูล การล่วงละเมิด การก่อกวนระบบคอมพิวเตอร์    
สไลด์ประกอบการบรรยายเรื่องสารสนเทศ


แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2
การจัดการข้อมูลและสารสนเทศ
1. จงอธิบายลักษณะของข้อมูลที่ดีว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง
   1. ข้อมูลที่มีความถูกต้องและเชื่อถือได้ (accuracy) ข้อมูล จะมีความถูกต้องและเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใดนั้นขึ้น กับวิธีการที่ใช้ในการควบคุมข้อมูลนำเข้า และการควบคุมการประมวลผลการควบคุมข้อมูลนำเข้าเป็นการกระทำ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าข้อมูลนำเข้มีความถูกต้องเชื่อถือได้ เพราะถ้าข้อมูลนำเข้าไม่มีความถูกต้องแล้วถึงแม้จะใช้วิธีการวิเคราะห์และ ประมวลผลข้อมูลที่ดีเพียงใดผลลัพธ์ที่ได้ก็จะไม่มีความถูกต้อง หรือนำไปใช้ไม่ได้ข้อมูลนำเข้าจะต้องเป็นข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบว่าถูกต้อง แล้วข้อมูลบางอย่างอาจต้องแปลงให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถ เข้าใจได้อย่างถูกต้อง ซึ่งอาจต้องพิมพ์ข้อมูลมาตรวจเช็คด้วยมือก่อนการประมวลผลถึงแม้ว่าจะมีการ ตรวจสอบข้อมูลนำเข้าแล้วก็ตาม ก็อาจทำให้ได้ข้อมูลที่ผิดพลาดได้ เช่นเกิดจากการเขียนโปรแกรมหรือใช้สูตรคำนวณผิดพลาดได้ ดังนั้นจึงควรกำหนดวิธีการควบคุมการประมวลผลซึ่งได้แก่การตรวจเช็คยอดรวมที่ ได้จากการประมวลผลแต่ละครั้งหรือการตรวจสอบผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์กัข้อมูลสมมติที่มการคำนวณด้วยว่ามีความถูกต้องตรงกัน หรือไม่
   2. ข้อมูลตรงตามความต้องการของผู้ใช้ (relevancy) ได้แก่ การเก็บเฉพาะข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการเท่านั้นไม่ควรเก็บข้อมูลอื่นๆที่ไม่จำ เป็นหรือไม่เกี่ยวข้องกับการใช้งานเพราะจะทำให้เสียเวลาและเสียเนื้อที่ใน หน่วยเก็บข้อมูลแต่ทั้งนี้ข้อมูลที่เก็บจะต้องมีความครบถ้วนสมบูรณ์โดย
   3.ข้อมูลมีความทันสมัย (timeliness) ข้อมูลที่ดีนั้นนอกจากจะเป็นข้อมูลที่มีความถูกต้องเชื่อถือได้แล้วจะ ต้องเป็นข้อมูลที่ทันสมัยทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้สามารถนำเอาผลลัพธ์ที่ได้ไปใช้ได้ทันเวลา นั่นคือจะต้องเก็บข้อมูลได้รวดเร็วเพื่อทันความต้องการของผู้ใช้
   4.มีความสอดคล้องกับความต้องการ ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้นจึงต้องมีการสำรวจเพื่อหความต้องการของหน่วยงานและองค์กร ดูสภาพการใช้ข้อมูล ความลึกหรือความกว้างของขอบเขตของข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการ
   5. ความสมบูรณ์ครบถ้วนในการนำไปใช้งาน ข้อมูลบางประเภทหากไม่ครบถ้วน จัดเป็นข้อมูลที่ด้อยคุณภาพได้เช่นกัน เช่น ข้อมูลประวัติคนไข้หากไม่มีหมูเลือดของคนไข้ จะไม่สามารถใช้ได้ในกรณีที่ผู้ร้องขอข้อมูลต้องการข้อมูลหมู่เลือดของคนไข้ หรือข้อมูลที่อยู่ของลูกค้าที่กรอกผ่านแบบฟอร์ม ถ้ามีชื่อและนามสกุลโดยไม่มีข้อมูลบ้านเลขที่ ถนน แขวง/ตำบล เขต/หรือจังหวัด ข้อมูลเหล่านั้นก็ไม่สามารถนำมาใช้ได้เช่นกัน ตัวอย่างข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน
   6. ความถูกต้องตามเวลา ในบางกรณีข้อมูลผูกอยู่กับเงื่อนไขของเวลา ซึ่งถ้าผิดจากเงื่อนไขของเวลาไปแล้ว ข้อมูลนั้นอาจลดคุณภาพลงไปหรือแม้กระทั่งไม่สามารถใช้ได้ เช่น ข้อมูลการให้ยาของคนไข้ในโรงพยาบาล ในทางการแพทย์แล้ว ข้อมูลนี้จะต้องถูกใส่เข้าไปในฐานข้อมูลที่คนไข้ได้รับยาเพื่อให้แพทย์คนอื่นๆ ได้ทราบว่า คนไข้ได้รับยาชนิดนี้เข้าไปแล้ว แต่ข้อมูลเรื่องการให้ยาของคนไข้นี้อาจไม่จำเป็นต้องได้รับการปรับทันทีสำหรับแผนกการเงิน เพราะแผนกการเงินจะคิดเงินก็ต่อเมื่อญาติคนไข้มาตรวจสอบหรือคนไข้กำลังออกจากโรงพยาบาล

2. จงอธิบายองค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล พร้อมทั้งยกตัวอย่างระบบฐานข้อมูลที่ใช้ใน
ชีวิตประจำวัน
 

   - องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล
     ความรู้ที่ได้จากการเข้ามาฝึกงาน,
     แผนกฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศ
    by Jenrob
   - องค์ ประกอบระบบฐานข้อมูลประกอบด้วย 5 องค์ประกอบที่สำคัญ คือฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล บุคลากร และผู้ใช้งาน ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายๆ กันกับองค์ประกอบของการคอมพิวเตอร์ ดังนี้
     1. ฮาร์ดแวร์ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์หรือองค์ประกอบต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อการทำงาน, อุปกรณ์ต่อพ่วงตลอดจนอุปกรณ์ทุกชนิดด้านเครือข่าย
     2. ซอฟต์แวร์ หมายถึง ชุดคำสั่งที่สามารถสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้แบ่งออเป็น 2 ประเภทหลักคือ ซอฟต์แวร์ระบบ และซอฟต์แวร์ประยุกต์
         2.1 ซอฟต์แวร์ระบบ คือชุดคำสั่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวประสานงานควบคุมการทำงาน ของอุปกรณ์ต่างๆ จัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่บนระบบให้แก่โปรแกรมประยุกต์สามารถทำงานได้ในการทำ งานนี้ระบบจัดการฐานข้อมูลจำเป็นต้องพึ่งพาระบบปฏิบัติการเช่นหน้าที่ในการ อ่านเขียนข้อมูลลงบนหน่วยความจำสำรองหรือการจัดการหน่วยความจำหลักตลอดจนรูป แบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้เป็นต้น
         2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือชุดคำสั่งที่ถูกสร้างเพื่อทำหน้าที่ประการใดประการหนึ่ง เช่น โปรแกรมประยุกต์ทางด้านสำนักงาน โปรแกรมเฉพาะด้านที่ถูกพัฒนาเพื่องานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะ โปรแกรมประยุกต์ที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลจะถูกเขียนให้มีความสามารถในการ เชื่อมต่อและเรียกใช้งานฐานข้อมูลได้หรือเป็นเว็บแอพพลิเคชั่นที่มี คุณลักษณะดังกล่าว
    3. ข้อมูลหน่วยของข้อมูลที่เล็กที่สุดบนระบบคอมพิวเตอร์คือบิตเมื่อกลุ่มของบิต รวมตัวกันจะได้อักขระ เมื่ออักขระหลายๆ ตัวรวมกันจะได้เป็นกลุ่มอักขระที่เรียกว่าฟิลด์ และหลายฟิลด์รวมกันเพื่อทำหน้าที่สื่อถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จัดเก็บจะเรียก ว่าเรคคอร์ด ในโมเดลฐานข้อมูลแบบเชิงสัมพันธ์นั้นฟิลด์หมายถึงแอททริบิวส์ ส่วนเรคคอร์ดคือทัพเพิล
    4. บุคลากร บุคลากรที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูลสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือผู้บริหารและผู้จัดการฐานข้อมูล ผู้พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ และผู้ใช้งานกล่าวคือ
       4.1 ผู้บริหารและผู้จัดการฐานข้อมูล มีหน้าที่สำคัญคือการจัดการกับฐานข้อมูลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยของฐาน ข้อมูลวางแผนป้องกันความผิดพลาดอันอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายกับระบบฐาน ข้อมูล
       4.2 ผู้ออกแบบฐานข้อมูล มีหน้าที่ในการรับผิดชอบเกี่ยวกับการออกแบบฐานข้อมูลให้ทำงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ เช่น การกำหนดมุมมองของผู้ใช้แต่ละคนการกำหนดรีเลชั่นความสัมพันธ์ของรีเลชั่นเ ป็นต้น
       4.3 นักวิเคราะห์ระบบ ออกแบบวิเคราะห์ระบบและออกแบบโปรแกรมประยุกต์ที่แสดงถึงขั้นตอนในการทำงาน ของโปรแกรมประยุกต์การออกแบบอินเตอร์เฟช เพื่อติดต่อกับผู้ใช้งาน เป็นต้น
       4.4 นักเขียนโปรแกรม ทำหน้าที่เขียนโปรแกรมประยุกต์ด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ตามที่นักวิเคราะห์ระบบ ได้ออกแบบไว้ให้สามารถติดต่อและเข้าใช้ฐานข้อมูลได้
    5. ผู้ใช้งาน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มปฏิบัติการและกลุ่มบริหาร
       5.1 ผู้ใช้งานระดับปฏิบัติการ เป็นกลุ่มผู้ใช้งานที่มีความเกี่ยวข้องกับการเพิ่มแก้ไขลบข้อมูลที่จะป้อน เข้าสู่ระบบฐานข้อมูลมากที่สุดตลอดจนอาจมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำรายงาน เบื้องต้นเพื่อส่งต่อให้ผู้บริหารใช้เพื่อการตัดสินใจหรือวางแผน
       5.2 ผู้ใช้งานระดับบริหาร เป็นกลุ่มที่ใช้ข้อมูลของระบบฐานข้อมูลเพื่อไปใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจ เชิงธุรกิจหรือตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานอาจไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการ บันทึกเพิ่มแก้ไขข้อมูลโดยตรง

3. จงอธิบายประโยชน์ของระบบจัดการฐานข้อมูล
    
- ระบบจัดการฐานข้อมูล ( Database Management System) หรือที่เรียกว่า ดีบีเอ็มเอส (DBMS)

คือ ซอฟต์แวร์สำหรับบริหารและจัดการฐานข้อมูล เปรียบเสมือนสื่อกลางระหว่างผู้ใช้และโปรแกรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ฐานข้อมูล ซึ่งมีหน้าที่ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายสะดวกและมีประสิทธิภาพ การเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ อาจเป็นการสร้างฐานข้อมูล การแก้ไขฐานข้อมูล หรือการตั้งคำถามเพื่อให้ได้ข้อมูลมาโดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้เกี่ยวกับ รายละเอียดภายในโครงสร้างของฐานข้อมูล เปรียบเสมือนเป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้และโปรแกรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ฐานข้อมูลซึ่งต่างจากระบบแฟ้มข้อมูลที่หน้าที่เหล่า นี้จะเป็นหน้าที่ของโปรแกรมเมอร์
   หน้าที่ของระบบการจัดการฐานข้อมูล   
   1. แปลงคำสั่งที่ใช้จัดการกับข้อมูลภายในฐานข้อมูล ให้อยู่ในรูปแบบที่ฐานข้อมูลเข้าใจ
   2. นำคำสั่งต่าง ๆ ซึ่งได้รับการแปลแล้ว ไปสั่งให้ฐานข้อมูลทำงาน เช่น การเรียกใช้(Retrieve)             จัดเก็บ(Update) ลบ (Delete) เพิ่มข้อมูล (Add) เป็นต้น
   3. ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับข้อมูลภายในฐานข้อมูล โดยจะคอยตรวจสอบว่าคำสั่งใดที่สามารถทำงานได้ และคำสั่งใดที่ไม่สามารถทำงานได้
   4. รักษาความสัมพันธ์ของข้อมูลภายในฐานข้อมูลให้มีความถูกต้องอยู่เสมอ
   5. เก็บรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลภายในฐานข้อมูลไว้ในพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้มักจะถูกเรียกว่า เมทาดาต้า (MetaData) ซึ่งหมายถึง "ข้อมูลของข้อมูล"
   6. ดูแลการใช้งานให้กับผู้ใช้ ในการติดต่อกับตัวจัดการระบบแฟ้มข้อมูลได้ โดยจะทำหน้าที่ติดต่อกับระบบแฟ้มข้อมูลซึ่งเสมือนเป็นผู้จัดการแฟ้มข้อมูล (file manager) นำข้อมูลจากหน่วยความจำสำรองเข้าสู่หน่วยความจำหลักเฉพาะส่วนที่ต้องการใช้ งาน และทำหน้าที่ประสานกับตัวจัดการระบบแฟ้มข้อมูลในการจัดเก็บ เรียกใช้ และแก้ไขข้อมูล
   7. ควบคุมการใช้ข้อมูลพร้อมกัน (Concurrency Control) ในระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ปัจจุบัน โปรแกรมการทำงานมักจะเป็นแบบผู้ใช้หลายคน (Multi User) จึงทำให้ผู้ใช้แต่ละคนสามารถเรียกใช้ข้อมูลได้พร้อมกัน ระบบจัดการฐานข้อมูลที่มีคุณสมบัติควบคุมการใช้ข้อมูลพร้อมกันนี้ จะทำการควบคุมการใช้ข้อมูลพร้อมกันของผู้ใช้หลายคนในเวลาเดียวกันได้ โดยมีระบบการควบคุมที่ถูกต้องเหมาะสม เช่น ถ้าการแก้ไขข้อมูลนั้นยังไม่เรียบร้อย ผู้ใช้อื่นๆ ที่ต้องการเรียกใช้ข้อมูลนี้จะไม่สามารถเรียกข้อมูลนั้นๆ ขึ้นมาทำงานใดๆ ได้ ต้องรอจนกว่าการแก้ไขข้อมูลของผู้ที่เรียกใช้ข้อมูลนั้นก่อนจะเสร็จเรียบ ร้อย จึงจะสามารถเรียกข้อมูลนั้นไปใช้งานต่อได้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการเรียกใช้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง
   8. ควบคุมระบบความปลอดภัยของข้อมูลโดยป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้า มาเรียกใช้หรือแก้ไขข้อมูลในส่วนป้องกันเอาไว้ พร้อมทั้งสร้างฟังก์ชันในการจัดทำข้อมูลสำรอง
   9. ควบคุมการใช้ข้อมูลในสภาพที่มีผู้ใช้พร้อม ๆ กันหลายคน โดยจัดการเมื่อมีข้อผิดพลาดของข้อมูลเกิดขึ้น
   ระบบจัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน     • ออราเคิล (Oracle)
   ไมโครซอฟท์ เอสคิวแอล เซิร์ฟเวอร์ (Microsoft SQL Server)
   มายเอสคิวแอล (MySQL)
   ไมโครซอฟต์ แอคเซส (Microsoft Access)
   ไอบีเอ็ม ดีบีทู (IBM DB/2)
   ไซเบส (Sybase)
   • PostgreSQL
   • Progress
   • Interbase
   • Firebird
   • Pervasive SQL
   แซพ ดีบี (SAP DB)

4. จงอธิบายความหมายของระบบสารสนเทศต่อไปนี้ พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ

    - ระบบ สารสนเทศ (Information System หรือ IS) [1] เป็นระบบพื้นฐานของการทำงานต่างๆ ในรูปแบบของการเก็บ (input) การประมวลผล (processing) เผยแพร่ (output) และมีส่วนจัดเก็บข้อมูล (storage)
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคือ ฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์, มนุษย์, กระบวนการ, ข้อมูล, เครือข่าย
    4.1 MIS 
         - ระบบMIS คือ ระบบMIS (Management Information System)
        ความหมายที่ 1
    - ระบบ สารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System) หรือ MIS คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต นอกจากนี้ระบบเอ็มไอเอสจะต้อง ให้สารสนเทศ ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง
แม้ ว่าผู้บริหารที่จะได้รับประโยชน์จาก ระบบเอ็มไอเอสสูงสุดคือผู้บริหารระดับกลาง แต่โดยพื้นฐานของระบบเอ็มไอเอสแล้ว จะเป็นระบบที่ สามารถสนับสนุนข้อมูลให้ ผู้บริหารทั้งสามระดับ คือทั้งผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารระดับกลาง และผู้บริหารระดับสูง โดยระบบเอ็มไอเอสจะให้รายงาน ที่สรุปสารสนเทศซึ่งรวบรวมจากฐานข้อมูลทั้งหมดของบริษัท จุดประสงค์ ของรายงานจะเน้นให้ผู้บริหารสามารถมองเห็นแนวโน้ม และภาพรวม ขององค์กรในปัจจุบัน รวมทั้งามารถควบคุมและตรวจสอบงานของระดับปฏิบัติการด้วย อย่างไรก็ดี ขอบเขตของรายงาน จะขึ้นอยู่กับ ลักษณะของสารสนเทศ และจุดประสงค์การใช้งาน โดยอาจมีรายงานที่ออกทุกคาบระยะเวลา (เช่น งบกำไรขาดทุนหรืองบดุล) รายงานตามความต้องการ หรือรายงานตามสภาวะการณ์หรือเหตุผิดปกติ
ระบบ สารสนเทศเพื่อการจัดการ Management Information System เป็นระบบการจัดหาคนหรือข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลเพื่อการดำเนินงาน ขององค์การการจัดโครงสร้างของสารสนเทศโดยแบ่งตามลำดับ การนำไปใช้งานสามารถแบ่งได้ 4 ระดับดังนี้
    1. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในการวางแผนนโยบาย กลยุทธ์ และการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง
    2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในส่วนยุทธวิธีในการวางแผนการปฏิบัตและการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง
    3. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในระดับปฎิบัติการและการควบคุมในขั้นตอนนี้ผู้ บริหารระดับล่างจะเป็นผู้ใช้สารสนเทศเพื่อช่วยในการปฎิบัติงาน
    4. ระบบสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผล ระบบสารสนเทศเป็นระบบรวมทั้งนี้เนื่องจากไม่สามารถเก็บรวบรวมในลักษณะระบบ เดียวเนื่องจากขนาดข้อมูลมีขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนมาก ทำให้การบริหารข้อมูลทำได้อยาก การนำไปใช้ไม่สะดวก จึงจำเป็นต้องแบ่งระบบสารสนเทศออกเป็นระบบย่อย 4 ส่วนได้แก่
       - ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing System :TPS)
       - ระบบจัดการรายงาน (Management Reporting System :MRS)
       - ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System :DSS)
       - ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information System :OIS)

    ลักษณะของระบบเอ็มไอเอสที่ดี

     - ระบบMIS จะสนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลรายวัน
     - ระบบMIS จะใช้ฐานข้อมูลที่ถูกรวมเข้าด้วยกัน และสนับสนุนการทำงานของฝ่ายต่าง ๆ ในองค์กร
     - ระบบMIS จะช่วยให้ผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง เรียกใช้ข้อมูลที่เป็นโครงสร้างได้ตาม เวลาที่ต้องการ
     - ระบบMIS จะมีความยืดหยุ่นและสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปขององค์กร
     - ระบบMIS ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูล และจำกัดการใช้งานของบุคลเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น 
    4.2 DSS
         - DSS (Decision support system) เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประยุกต์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอเพื่อให้ผู้ใช้สามารถตัดสินใจทางธุรกิจง่ายขึ้น สิ่งนี้เป็น สารสนเทศประยุกต์ (ซึ่งต้องแยกจากการปฏิบัติประยุกต์ที่รวบรวมข้อมูลของการปฏิบัติงานปกติ) แบบแผนของสารสนเทศ ที่เป็นการประยุกต์สนับสนุนการตัดสินใจ ซึ่งต้องรวมรวมและนำเสนอ คือ - การเปรียบเทียบการขายระหว่างสัปดาห์ 
   - การคาดการณ์รายรับ ตามข้อสมมติของการขายผลิตภัณฑ์ใหม่ 
   - ผลต่อเนื่องจากทางเลือกในการตัดสินใจต่าง ๆ โดยประสบการณ์ในอดีตเป็นแนวในการอธิบาย Decision support system อาจจะเสนอสารสนเทศเชิงภูมิศาสตร์ และอาจจะรวมถึงระบบผู้เชี่ยวชาญ (Export system) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) โดยมีจุดมุ่งหมายสำหรับผู้บริหารธุรกิจ หรือกลุ่มพนักงานที่มีระดับความรู้4.3 ES
    4.4 DP
         - เงื่อนไขการเรียกเก็บแบบ D/P (documents against payment) หมายความว่า ผู้ซื้อจะรับเอกสารเพื่อไปแลกสินค้าได้ ก็ต่อเมื่อมีการชำระเงินค่าสินค้านั้นแล้ว ในทางการค้าระหว่างประเทศ เมื่อผู้ขายส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อแล้ว ผู้ซื้อยังไม่สามารถรับสินค้าได้ทันที ผู้ซื้อจะต้องรอเอกสารจากผู้ขาย เพื่อจะนำไปแลกสินค้าจากบริษัทเรือหรือบริษัทขนส่ง เอกสารที่สำคัญคือ ใบตราส่งที่ออกโดยบริษัทเรือ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ตั๋วเรือ” (Bill of Lading) ผู้ซื้อจะได้เอกสารนี้จากธนาคารที่ทำหน้าที่เรียกเก็บเงินต่อเมื่อผู้ซื้อ ชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ธนาคารดังกล่าว การตั้งเงื่อนไขแบบ D/P นี้ทำให้ผู้ขายไม่ต้องเสี่ยงต่อการที่มอบสินค้าให้ผู้ซื้อแล้วผู้ซื้อไม่ยอม ชำระเงิน เงื่อนไข D/P นี้ใช้ได้กับตั๋วที่เป็น Sight Bill และ Time Bill
    4.5 EIS
           - ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System: EIS) 
         - ระบบ สารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง คือ MIS ประเภทพิเศษที่ถูกพัฒนาสำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถ ใช้ระบบสารสนเทศได้ง่ายขึ้น โดยใช้เมาส์เลื่อนหรือจอภาพแบบสัมผัส เพื่อเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างกันทำให้ผู้บริหารไม่ต้องจำคำสั่ง
    คุณสมบัติของระบบ EIS
      - มีการใช้งานบ่อย
      - ไม่ต้องมีทักษะทางคอมพิวเตอร์สูง
      - ความยืดหยุ่นสูงสามารถเข้ากันได้กับรูปแบบการทำงานของผู้บริหาร
      - การใช้งานใช้ในการตรวจสอบ ควบคุม
      - การสนับสนุนการตัดสินใจไม่มีโครงสร้างแน่นอน
      - ผลลัพธ์ที่แสดงจะเป็นตัวอักษร ตาราง ภาพและเสียง รวมทั้งระบบมัลติมีเดีย
      - การใช้งานภาพกราฟิกสูง จะใช้รูปแบบการนำเสนอต่างๆ
      - ความเร็วในการตอบสนองรวดเร็วทันทีทันใด
ข้อดีของระบบ EIS
1. ง่ายต่อผู้บริหารระดับสูงในการใช้งาน
2. การใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์
3. ให้สารสนเทศสรุปของบริษัทในเวลาที่ต้องการ
4. ทำให้สามารถเข้าในสารสนเทศได้ดีขึ้น
5. มีการกรองข้อมูลให้ประหยัดเวลา
6. ทำให้ระบบสามารติดตามสารสนเทศได้ดีขึ้น
ข้อด้อยของระบบ EIS
1. มีข้อจำกัดในการใช้งาน
2. อาจทำให้ผู้บริหารจำนวนมากรู้สึกว่าได้รับข้อมูลมากเกินไป
3. ยากต่อการประเมินผลประโยชน์ที่ได้จากระบบ
4. ไม่สามารถทำการคำนวณที่ซับซ้อนได้
5. ระบบอาจนะใหญ่เกินกว่าที่จะจัดการได้
6. ยากต่อการรักษาข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
7. ก่อให้เกิดปัญหาการรักษาความลับของข้อมูล

5. จงอธิบายความแตกต่างระหว่างระบบสารสนเทศดังต่อไปนี้
     5.1 MIS กับ DP
 

           ความแตกต่างระหว่างระบบสารสนเทศ MIS กับ DP
            - ระบบ DP เป็นระบบการประมวลผลข้อมูลประจำวันในลักษณะของการจัดการ เป็นแฟ้มข้อมูลที่ใช้รายงานของงาน ประจำวัน เช่น รายงานยอดการเช่าของวีดีโอของทุกวัน ก่อนทำการปิดบัญชีประจำวัน
            - ระบบ MIS เป็นระบบที่มีการนำผลการประมวลผลในระดับของระบบ DP ของแต่ละงานในหน่วยงานที่ประมวลผล มาแล้วทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลของงานแต่ละงานที่เกี่ยวข้องกันหรือมีความ สัมพันธ์กันของข้อมูลของงานแต่ละงาน
            - ระบบ MIS มีข้อแตกต่างจากระบบ DP ดังนี้คือ ระบบ MIS ประกอบด้วยฐานข้อมูลที่เป็น Integrated Database กล่าวคือ มีการใช้ฐานข้อมูลต่าง ๆ (ข้อมูลต่าง ๆ ภายในองค์กร มาจากระบบ DP ต่าง ๆ ภายใต้งานหลักเฉพาะหน่วยงานขององค์กร) ภายในองค์กรร่วมกัน ดังนั้นผู้บริหารทุกระดับสามารถใช้ Integrated Database เพื่อเรียกใช้สารสนเทศประกอบการตัดสินใจได้สะดวกกว่าระบบ DPซึ่งจะรายงานเฉพาะหน่วยงาน ไม่สามารถเปรียบเทียบหรือโยงไปยังข้อมูล / สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกันได้
      5.2 DSS กับ MIS
            ความแตกต่างระหว่างระบบสารสนเทศ DSS กับ MIS
            - ระบบ MIS เป็นระบบที่มีการนำผลการประมวลผลในระดับของระบบ DP ของแต่ละงานในหน่วยงานที่ประมวลผล มาแล้วทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลของงานแต่ละงานที่เกี่ยวข้องกันหรือมีความ สัมพันธ์กันของข้อมูลของงานแต่ละงาน
            - ระบบ DSS เป็นระบบที่ทำการสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ ของผู้บริหารในการตัดสินใจ โดยการนำการประมวลผลในระบบ MISมาประกอบกาานำ สารสนเทศจากภายนอกมาประกอบในการสร้างเครื่องมือ
            - ความแตกต่างระหว่าง DSS กับ MIS คือ เน้นการตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง (แนวทาง ตรรก ที่แน่นอน) และใช้ข้อมูลภายในจากระบบ Dss เป็นหลัก จุดมุ่งหมายเพื่อบริหารจัดการ (Supervise) งานของหน่วยปฏิบัติการ ให้บรรลุเป้าหมาย ตามแผนงานที่กำหนดมาโดยผู้บริหารระดับกลาง ภายใต้งบประมาณ เวลาและข้อจำกัดอื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
      5.3 EIS กับ DSS
            ความแตกต่างระหว่าง EIS กับ DSS และ MIS MIS = เน้นการตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง (แนวทาง ตรรก ที่แน่นอน) และใช้ข้อมูลภายในจากระบบ TPS เป็นหลัก จุดมุ่งหมายเพื่อบริหารจัดการ (Supervise) งานของหน่วยปฏิบัติการ ให้บรรลุเป้าหมาย ตามแผนงานที่กำหนดมาโดยผู้บริหารระดับกลาง ภายใต้งบประมาณ เวลาและข้อจำกัดอื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น Production Control, Sales forecasts, financial analysis, และ human resource management เป็นต้น
DSS = เน้นการตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi structured decision making) มีการใช้ข้อมูลข่าวสารจากระบบ MIS และข้อมูลจากภายนอกบางส่วนมาช่วยในการปรับปรุง หรือ กำหนดแผนงานที่จะต้องสนองเป้าหมายหลักขององค์กรให้มากที่สุด เช่น ระบบ Data miming เป็นต้น
EIS = เน้นการตัดสินใจแบบไร้โครงสร้าง (Unstructured decision making) จุดมุ่งหมายของระบบ EIS คือ ช่วยให้ผู้บริหารมองเห็นแนวทาง ความเป็นไปที่เป็นมา และกำลังจะมีแนวโน้มไปทางใด เพื่อให้สามารถกำหนดนโยบาย เป้าหมาย หลักๆ ขององค์กรให้สามารถธำรงองค์กรไว้ได้ แข่งขันกับคู่แข่งขันได้อย่างดี ตัวอย่างเช่นระบบ วางแผนกลยุทธ์ Strategic planning เป็นต้น จะเป็นมาตรการสิ่งที่ได้จากการตัดสินใจของผู้บริหารชั้นสูงที่ใช้สั่งการไป สู่ผู้บริหารระดับกลาง เพื่อปรับแผนงานและกระทบถึงผู้บริหารระดับต้น เพื่อปฏิบัติตามแผนงาน ใหม่ต่อไป
     รูปที่ 1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างระบบข่าวสารประเภทต่างๆ
         1. ระบบสารสนเทศประมวลผลธุรกรรม (Transaction Processing Systems: TPS) เป็นระบบที่มีการประมวลผลที่รวดเร็ว ลดค่าใช้จ่าย และ ทำหน้าที่รวบรวม บันทึกข้อมูลในแฟ้มข้อมูล หรือฐานข้อมูล และประมวลผลข้อมูลที่เกิดจากการทำธุรกรรมและการปฏิบัติงานประจำ ขององค์การเพื่อนำไปจัดทำระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้นๆ การประมวลผลข้อมูลของ TPS แบ่งเป็น 2 ประเภท 1) การประมวลผลแบบกลุ่ม 2) การประมวลผลแบบทันที
         2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems : MIS) จัดทำรายงานในรูปแบบที่แตกต่างกัน สามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ 1) รายงานที่จัดทำตามระยะเวลาที่กำหนด 2) รายงานสรุป 3) รายงานที่จัดทำตามเงื่อนไขเฉพาะ 4) รายงานที่จัดทำตามต้องการ
         3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems : DSS) เป็นระบบสารสนเทศที่นำข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆ มาใช้ในการตัดสินใจ โดยปกติแล้ว TPS และ MIS จะจัดทำรายงานสำหรับควบคุมและกำกับดูแลการปฏิบัติงานทั่วๆไป เพื่อให้องค์การดำเนินงานได้อย่างถูกต้อง
         4. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems :EIS หรือ Executive Support Systems : ESS) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์ปัญหา ศึกษาแนวโน้ม และการวาวงแผนกลยุทธ์ ผู้บริหารสามารถเข้าถึงสารสนเทศโดยกำหนดมุมมองได้ในรูปแบบต่างๆ จึงเป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวสูง
      รูปที่2.ระบบ TPS สนับสนุนการทำงานของ MIS DSS EIS อย่างไรบ้าง
          1. การจัดกลุ่มของข้อมูล (Classification) คือ การจัดกลุ่มข้อมูลลักษณะเหมือนกันไว้ด้วยกัน
          2. การคิดคำนวณ (Calculation) การคิดคำนวณโดยใช้วิธีการคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ เช่น การคำนวณภาษีขายทั้งหมดที่ต้องจ่ายในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
          3. การเรียงลำดับข้อมูล (Sorting) การจัดเรียงข้อมูลเพื่อทำให้การประมวลผลง่ายขึ้น เช่น การจัดเรียง invoices ตามรหัสไปรษณีย์เพื่อให้การจัดส่งเร็วยิ่งขึ้น
          4. การสรุปข้อมูล (Summarizing) เป็นการลดขนาดของข้อมูลให้เล็กหรือกะทัดรัดขึ้น เช่น การคำนวณเกรดเฉลี่ยของนักศึกษาแต่ละคน
          5. การเก็บ (Storage) การบันทึกเหตุการณ์ที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน อาจจำเป็นต้องเก็บรักษาข้อมูลไว้ โดยเฉพาะข้อมูลบางประเภทที่จำเป็นต้องเก็บรักษาไว้ตามกฎหมาย ที่จริงแล้ว TPS เกี่ยวข้องกับงานทุกระดับในองค์การ แต่งานส่วนใหญ่ของ TPS จะเกิดขึ้นในระดับปฏิบัติการมากกว่า แม้ว่า TPS จะจำเป็นในการปฏิบัติงานในองค์การแต่ระบบ TPS ก็ไม่เพียงพอในการสนับสนุนในการตัดสินใจของผู้บริหาร ดังนั้นองค์การจึงจำเป็นต้องมีระบบอื่นสำหรับช่วยผู้บริหาร
แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3
ไฮเบอร์มิเดีย


1. ยกตัวอย่างลักษณะของงานไฮเปอร์มีเดีย 
    1.1 การ สืบค้น (Browsing) ใช้ เป็นเครื่องมือในการค้นหาหรือสืบไปในข้อมูลสารสนเทศหรือบท เรียนต่างๆ โดยผู้ใช้สามารถ สำรวจเลือกเส้นทางวิธีการขั้นตอนการเรียนรู้ตามความพอใจหรือตามแบบการเรียน (Leaning-Style) ของแต่ละคน ทั้งนี้เป็นไป ภายใต้เงื่อนไขที่โปรแกรมหรือบทเรียน ไฮเปอร์มีเดียกำหนดไว้
   1.2 การเชื่อมโยง (Linking) ผู้ ใช้สามารถเชื่อมโยงไปยัง แฟ้มข้อมูลต่างๆ ภายในระบบเดียวกัน ตลอดจนการเชื่อมต่อไปยัง เครือข่ายภายนอก เช่นการเชื่อมต่อเข้ากับอินทราเน็ต (Intranet) อินเตอร์เน็ต (Internrt)เป็นต้น
    1.3 สร้างบทเรียน (Authoring) หรือ สร้างโปรแกรมการนำเสนอรายงานสารสนเทศต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมที่มีลักษณะ พิเศษ น่าสนใจเนื่องจากสามารถแสดงให้เห็นทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง และการเคลื่อนไหวดังกล่าวมาแล้ว การสร้างบทเรียนแบบ ไฮเปอร์มีเดียโดยทั่วไป ปัจจุบันอาศัยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) สำหรับการสร้างโดยเฉพาะ ซึ่งมีใช้กันอยู่หลายโปรแกรม เช่นHypercard,Hyper Studio,Authoware,Tooolbook,Linkway,Micro Wold, Dreamweaver PowerPoint เป็นต้น สำหรับโปรแกรมที่นิยมใช้ ในประเทศไทย ได้แก่ Authoware,Toolbook Dreamweaver PowerPoint

3. ยกตัวอย่างลักษณะของโปรแกรมประยุกต์ที่ใช้ในงานไฮเปอร์มีเดีย

ลักษณะของโปรแกรมประยุกต์ที่ใช้ในงานไฮเปอร์มีเดีย
    - โปรแกรมสำหรับสร้างงานไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia Authoring)โปรแกรม Asymetrix Toolbook II เป็นโปรแกรมที่ได้รับความนิยมทั้งในและต่างประเทศสามารถใช้ภาพ เสียง ตัวอักษร และการเคลื่อนไหวได้อย่างสมบูรณ์ มีโปรแกรมบันทึกและตัดต่อเสียงให้มาพร้อมกับโปรแกรมหลัก เหมาะสำหรับการสร้างงานแบบไฮเปอร์มีเดีย เช่น บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) หรือการนำเสนอสารสนทเศต่างๆ ตั้งแต่ระดับง่ายๆ ไปจนถึงงานที่ซับซ้อน แนวคิดพื้นฐานของ Toolbook
แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 4
 การสื่อสารข้อมูล และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1.จงบอกองค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์และหน้าที่ของแต่ละองค์ประกอบ

องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล
    การสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบ 5 อย่าง (ดังรูป) ได้แก่

    1. ผู้ส่ง (Sender) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข่าวสาร (Message) เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูลมีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล เช่น ผู้พูด โทรทัศน์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น
    2. ผู้รับ (Receiver) เป็นปลายทางการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
    3. สื่อกลาง (Medium) หรือตัวกลาง เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อส่งข้อมูลอาจเป็นสายคู่บิดเกลี ยว สายโคแอกเชียล สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น เลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุภาคพื้นดิน หรือคลื่นวิทยุผ่านดาวเทียม
    4. ข้อมูลข่าวสาร (Message) คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร ซึ่งอาจถูกเรียกว่า สารสนเทศ (Information) โดยแบ่งเป็น 5รูปแบบ ดังนี้
        4.1 ข้อความ (Text) ใช้แทนตัวอักขระต่าง ๆ ซึ่งจะแทนด้วยรหัสต่าง ๆ เช่น รหัสแอสกี เป็นต้น
        4.2 ตัวเลข (Number) ใช้แทนตัวเลขต่าง ๆ ซึ่งตัวเลขไม่ได้ถูกแทนด้วยรหัสแอสกีแต่จะถูกแปลงเป็นเลขฐานสองโดยตรง
        4.3 รูปภาพ (Images) ข้อมูลของรูปภาพจะแทนด้วยจุดสีเรียงกันไปตามขนาดของรูปภาพ
        4.4 เสียง (Audio) ข้อมูลเสียงจะแตกต่างจากข้อความ ตัวเลข และรูปภาพเพราะข้อมูลเสียงจะเป็นสัญญาณต่อเนื่องกันไป
        4.5 วิดีโอ (Video) ใช้แสดงภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากการรวมกันของรูปภาพหลาย ๆ รูป
5. โปรโตคอล (Protocol) คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่อง โดยทั้งสองฝั่งทั้งผู้รับและผู้ส่งได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ในคอมพิวเตอร์โปรโตคอลอยู่ในส่วนของซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงาน ในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น X.25, SDLC, HDLC, และ TCP/IP เป็นต้น
การทำหน้าที่ เป็นผู้ส่งสารและผู้รับสารนี้ หากเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลที่มีผู้เข้าร่วมทำการสื่อสารกันเพียง 2 คน แล้วล่ะก้อทั้ง 2 ฝ่ายจะทำหน้าที่สลับสับเปลี่ยนกันได้ เช่น ก.พูดคุยอยู่กับ ข. เรื่องการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ในวันที่ 2 มิถุนายน 2539 จากกรณีนี้ทั้ง ก. และ ข. ต่างก็ทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารในเวลาที่ใกล้เคียง กัน คือ เมื่อ ก. พูด ข. ฟังก.ก็เป็นผู้ส่งสาร ข. ก็เป็นผู้รับสาร แต่เมื่อ ข. พูดโต้ตอบกลับไป ก. ก็จะเป็นฝ่ายฟังหรือผู้รับสาร แล้ว ข. ก็จะเป็นผู้พูดหรือผู้ส่งสาร ส่วนเรื่องที่ ก. และ ข. พูดคุยกันนั้น ก็คือตัวสาร(Message) และตัวพาหนะที่นำสารไปสู่ทั้ง 2 ฝ่าย ก็คือสื่อ หรือ Channel ซึ่งในที่นี้ถ้าหากเป็นการคุยกันแบบเผชิญหน้าหรือ face to face สื่อที่นำเสียงของผู้ส่งสารไปสู่โสตสัมผัสทางหูของผู้รับสาร ก็คือ อากาศที่อยู่รอบ ๆ ตัวของผู้ที่ทำการสื่อสารกันนั่นเอง อากาศในที่นี้เราถือได้ว่าเป็นสื่อธรรม ชาติ แต่ถ้าหากการพูดคุยระหว่าง ก. กับ ข. ไม่ได้เป็นแบบเผชิญหน้า แต่เป็นแบบ Person to Person ตัวต่อตัว โดยเป็นการสนทนากันทางโทรศัพท์ เราก็ยังถือว่าเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลเหมือนกัน แต่พาหนะที่นำสารไปสู่ผู้ที่ทำการสื่อสารกันนั้นเปลี่ยนแปลงไปจากอากาศเป็นโทรศัพท์นั่นเอง และตัวเครื่องโทรศัพท์นี่เองที่เป็นสื่อหรือช่องทางการสื่อสารที่มนุษย์ประดิษฐ์คิดค้นขึ้น ไม่ได้เป็นสื่อธรรมชาติอย่างเช่นอากาศ
 2.จงเปรียบเทียบความแตกต่างของสัญญาณอนาล็อก กับสัญญาณดิจิตอล
     สัญญาณอนาลอก (Analog Signal) หมายถึงสัญญาณข้อมูลแบบต่อเนื่อ (Continuouse Data) มี         ขนาดของสัญญาณไม่คงที่ การเปลี่ยนแปลงขนาดของสัญญาณแบบค่อยเป็นค่อยไป กล่าวคือต้องแปรผันตามเวลา โดยทั่วไปคือสัญญาณที่มนุษย์สามารถสัมผัสได้ เช่น แรงดันของน้ำ ค่าของอุณหภูมิ หรือความเร็วของรถยนต์ เป็นต้น
สัญญาณดิจิตัล (Digital Signal) หมายถึงสัญญาณข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) มีขนาดของสัญญาณคงที่ การเปลี่ยนแปลงขนาดของสัญญาณเป็นแบบทันที ทันใด กล่าวคือ ไม่แปรผันตามเวลา โดยทั่วไปคือสัญญาณที่มนุษย์ไม่สามารถสัมผัสได้ เช่น สัญญาณไฟฟ้า เป็นต้น
ความแตกต่างระหว่างสััญญาณ Analog และ Digital
    - สัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) หมายถึง สัญญาณที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือการเคลื่อน ที่ของ ข้อมูลแบบต่อเนื่อง (Continuouse Data) โดยสัญญาณจะมีขนาดไม่คงที่ มีการเปลี่ยนแปลงขนาดของ สัญญาณแบบค่อยเป็นค่อยไป และจะมีลักษณะเป็นเส้นโค้งต่อเนื่อง กันไป ยกตัวอย่างเช่น การที่เราโยน ก้อนหินลงน้ำ บนผิวน้ำเราจะเห็นว่า น้ำจะมีการเคลื่อนตัวเป็นคลื่น กระจายออกเป็นวงกลมรอบจุดที่หินจม ระดับคลื่นจะสังเกตุได้ว่าเริ่มจาก จุดกลางแล้วขึ้นสูง แล้วกลับมาที่จุดกลางแล้วลงต่ำ แล้วกลับมาที่จุดกลาง เป็นลักษณะนี้ติดต่อกันไป แต่ละครั้งของวงรอบเราเรียกว่า 1 Cycle โดยการเคลื่อนที่ของสัญญาณ อนาล็อก (Analog Signal) นี้ จะมีระยะทางและเวลาเป็นตัวกำหนดด้วย จึงทำให้มีผลต่อการส่งสัญญาณ อนาล็อก (Analog Signal) ส่วนใหญ่จึงสามารถถูกรบกวนได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นจากสิ่งแวดล้อมภายนอก หรือจากตัวของระบบอุปกรณ์เอง เพราะสัญญาณที่ส่งออกไปนั้นจะเป็นสัญญาณจริง และเมื่อถูกรบกวนก็อาจ จะทำให้คลื่นสัญญาณมีการเปลี่ยนไป จึงทำให้ผู้รับหรือปลายทางนั้นมีการแปลความหมายผิดพลาดได้ เช่น สัญญาณเสียง เป็นต้น สัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) หมายถึง สัญญาณที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) ที่มีขนาดแน่นอนซึ่งขนาดดังกล่าวอาจกระโดดไปมาระหว่างค่าสองค่า คือ สัญญาณ ระดับสูงสุดและสัญญาณระดับต่ำสุด ซึ่งสัญญาณดิจิตอลนี้เป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการทำงานและ ติดต่อสื่อสารกัน หรือกล่าวได้ว่าสัญญาณดิจิตอลก็คือการที่เรานำเอาสัญญาณ Analog (อนาล็อก) มา แปลงให้อยู่ในรูปแบบของตัวเลข (0,1) โดยการแปลงสัญญาณนี้ต้องอาศัยวงจรประเภทหน่ึงที่เรียกว่า A To D (A/D) หรือ Analog To Digital converter โดยวงจร A/D หลังจากนั้น ก็จะได้สัญญาณ Digital ออกมาเป็นสัญญาณในรูปแบบของตัวเลข (0,1) นั่นเอง โดยจะเป็นสัญญาณที่เกิดจากแรงดันของ ไฟฟ้าจะมีอยู่ 2 ค่าคือ 0 = Min และ 1 = Max โดยค่า Min จะมีแรงดันไฟฟ้าอินพุต อยู่ที่ประมาน 0 โวลต์ และ Max จะมีแรงดันไฟฟ้าอินพุต อยู่ที่ประมาน 5 โวลต์ ดังนั้นสัญญาณชนิดนี้มนุษย์เรา จึงไม่สามารถสัมผัสหรือรับรู้ได้เลย และเมื่อได้เป็นสัญญาณ Digital ออกมาแล้ว จึงทำการส่งข้อมูลไปยัง ผู้รับหรือปลายทาง ทางฝั่งผู้รับหรือปลายทางจะต้องมีตัวแปลงสัญญาณจาก Digital ให้กลับเป็น Analog อีกครั้ง โดยผ่านตัวแปลง คือ D To A (D/A) หรือ Digital To Analog converter
     เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสัญญาณ Analog และ สัญญาณ Digital
     - สรุปได้ว่าสัญญาณ Digital เปรียบเสมือนการเปลี่ยนรูปแบบจากสัญญาณ Analog ที่เป็นสัญญาณ คลื่นให้ เป็นสัญญาณไฟฟ้า
ความแตกต่างของระบบระบบกล้องวงจรปิด CCTV ระหว่าง Analog, IP, และ HD-SDI
     ทุกวันนี้ระบบโทรทัศน์วงจรปิด หรือเรียกกันติดปากว่าระบบกล้องวงจรปิด CCTV ได้ถูกนำมาใช้ด้วย กันหลายระบบ แบ่งเป็น 3 ประเภท
      1. ระบบ Analog
           เป็นระบบที่ใช้ตั้งแต่มีการคิดค้นระบบกล้องวงจรปิด CCTV ระบบ Analog เป็นระบบที่ใช้สาย สัญญาณ (Coax cable) เช่น สาย RG6 RG11
      ข้อดี
       - ต้นทุน : ระบบอนาล๊อกมีต้นทุนที่ถูกกว่าระบบ IP
       - ยืดหยุ่นกว่า : เนื่องจากว่ามีกล้องหลากหลายประเภทให้เลือกใช้ ตั้งแต่ระบบเล็กไปถึงระบบ ใหญ่ที่มีอินฟราเรดตั้งตั้งมาพร้อมกับกล้องทำให้มีตัวเลือกสำหรับการใช้งานประเภทต่าง ๆ ได้อย่าง เหมาะสม
       - ความเข้ากันได้ : ในระบบอนาล๊อก มีเพียงระบบ PAL และ NTSC เท่านั้น ทำให้สามารถ เลือกกล้องต่างยี่ห้อมารวมในระบบเดียวกันได้
ปัญหาน้อย : เนื่องจากว่าระบบอนาล็อกถูกพัฒนามามากจนแทบจะเรียกได้ว่า อยู่ในช่วง สุดท้ายของเทคโนโลยีของระบบอนาล๊อกแล้ว ทำให้ปัญหาต่างๆถูกแก้ไขไปจนหมด ปัญหาต่าง ๆ ของระบบอนาล็อก จึงเกิดขึ้นน้อยมาก
ช่างที่ทำการติดตั้งไม่ต้องมีความรู้ด้านเน็ตเวิร์ก ก็สามารถติดตั้งได้
      ข้อเสีย
       - Function : ระบบอนาล๊อกไม่มีฟังชั่นเช่นเดียวกับที่กล้อง IP มี เว้นแต่กล้องอนา็๊ล็อกที่มี ราคาสูงมาก ๆ เท่านั้น
ความปลอดภัย : ระบบอนาล็อกมีความปลอดภัยน้อย เนื่องจากว่าไม่มีการเข้ารหัสของข้อมูล ไม่ว่าใครก็ สามารถดูภาพจากกล้องวงจรปิดได้
       - ระยะทาง : ไม่สามารถรองรับการส่งสัญญานในระยะไกล ๆ ได้
ความละเอียดของภาพที่ได้ไม่มาก เนื่องจากระบบ Analog ไม่สามารถส่งภาพที่มีความ ละเอียดสูงได้ เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านสาย
       2. ระบบ IP (Network)
            เป็นระบบกล้องวงจรปิด CCTV ที่นำมาใช้แทนระบบ Analog ซึ่งระบบ IP จะส่งสัญญาณในรูปแบบ Digital ทำให้ภาพที่ได้มีความคมชัด ไม่เกิดการสูญหายของสัญญาณ คือถ้ามีการเดินระบบผิดพลาด ภาพก็จะไม่แสดงเลย แต่ถ้าเดินระบบได้ถูกต้องภาพจะมีความชัดตามคุณภาพของกล้องที่ส่งภาพมา ซึ่งต่าง กับระบบ Analog ที่ภาพจะมีทั้ง ภาพชัด ภาพไม่ชัด และภาพหาย สายสัญญาณที่ใช้ในระบบ Digital ส่วนมากจะเป็นสาย Cat5
      ข้อดี
      - Wireless : สนับสนุนการทำงานผ่านระบบไร้สายมากกว่า Analog
      - ระบบเครือข่ายเดิม : กล้อง IP สามารถใช้ร่วมกับระบบ LAN ที่มีอยู่แล้วได้โดยไม่ต้องเดิน สายใหม่
      - พิ่มกล้องได้ง่าย : หากต้องการเพิ่มกล้องสามารถทำได้ง่าย โดยไม่ติดข้อจำกัดในส่วนของ Channel ที่จำกัดของ DVR อีกต่อไป
      - ประสิทธิภาพสูง : เนื่องจากกล้อง IP แต่ละตัวทำงานแยกอิสระ ไม่ได้ส่งภาพไปประมวลผล ที่ตัวกล้อง ทำให้ได้ภาพที่มีคุณภาพ "เต็มที่" ไม่อั้นที่ DVR อีกต่อไป แต่ละตัวมี IP ของตัวเอง ทำให้การตั้งค่ากล้องแต่ละตัวทำได้ง่าย
      - ความละเอียด : เนื่องจากเป็นระบบ Digital ทำให้สามารถข้ามข้อจำกัดที่ระบบ Analog ไม่ สามารถทำได้นั่นคือ ข้ามจาก 576 TVL ไปเป็น 1080p หรือ "Hidefinition" ทำให้ได้ภาพที่มี ความละเอียด "สูงมาก" เปรียบเสมือนกับระบบ Analog คือการที่เราดูหนังจาก VDO ธรรมดา แต่ ระบบ Digital เทียบได้กับการดูหนังแบบ Blue ray ได้เลยทีเดียว
      - POE : บางรุ่นสามารถส่งสายไฟไปพร้อมกับสาย LAN ได้ โดยไม่ต้องเดินสายไฟแยกเพิ่ม ออกไปอีกต่างหาก
      - ความปลอดภัยสูงมาก : เนื่องจากการทำงานบนของระบบ Digial สามารถที่จะ Backup ข้อมูลบน Server ได้ตลอดเวลา และ Hacker ไม่สามารถ "ดัก"เอาข้อมูลระหว่างทางได้
     ข้อเสีย
      - การส่งผ่านข้อมูล : เนื่องจากใช้ Brandwidth สูงมาก ตั้งแต่ 500 kbps ถึง 1.5 Mbps ทำให้ระบบทำงานหนัก
      - ต้นทุน : ค่าใช้จ่ายจะสูงขึ้นกว่าระบบAnalog ไม่ว่าจะเป็นค่าอุปกรณ์, การดูแลรักษา แต่ก็มี แนวโน้มที่ลดลงจากเมื่อก่อนมาก
      - ใช้ข้ามยี่ห้อไม่ได้ : เนื่องจากระบบถูกพัฒนาจากหลายรายทำ ให้มีมากกว่า 1 มาตราฐาน จึงไม่สามารถใช้กล้องที่มี Protocal ต่างกันเพื่อติดต่อกันได้ หรือให้เข้าใจง่ายๆคือ "ข้ามยี่ห้อไม่ได้" นั่นเอง
ผู้ติดตั้งจะต้องมีความรู้ทางด้าน Network รวมไปถึง ความรู้ของผู้ที่บริหารจัดการข้อมูล
     3. ระบบ HD-SDI
          กล้องวงจรปิด CCTV แบบ SDI ย่อมาจาก Serial Digital Interface เป็นระบบ Digital ที่ใช้สาย สัญญาณแบบ Coax หรือ แบบเดิมที่เป็น RG6 เป็นตัวนำสัญญาณ ระบบนี้สามารถส่งสัญญาณภาพโดย ไม่จำเป็นต้องบีบอัดสัญญาณ เพราะระบบรองรับการส่งสัญญาณที่มีความละเอียดมากกว่าความละเอียด แบบธรรมดาถึง 5 เท่า ทำให้สัญญาณภาพมีความคมชัดในระดับ HD
     ข้อดี
      - สามารถใช้สายสัญญาณเดิมของระบบ Analog ได้ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการ Upgrade
ภาพมีความคมชัดสูง
      - ผู้ติดตั้ง ไม่จำเป็นต้องมีความชำนาญด้านระบบเน็ตเวิร์ค
     ข้อเสีย
     - ราคาของกล้องและเครื่องบันทึก ยังมีราคาสูงอยู่ แต่ก็มีแนวโน้มลดลง
     - ตัวกล้องยังมีให้เลือกน้อย ผู้ผลิตกล้องวงจรปิด ยังไม่ได้ทำการผลิตระบบนี้ในจำนวนมาก
3.จงบอกทิศทางของการสื่อสารข้อมูลว่ามีกี่แบบ อะไรบ้างพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
    ทิศทางของการสื่อสารข้อมูล หมายถึง ทิศทางจากอุปกรณ์ส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์รับข้อมูลโดยผ่านสื่อนำข้อมูล
สามารถแบ่งทิศทางการสื่อสารของข้อมูลได้เป็น 3 แบบ คือ
      1. แบบทิศทางเดียว (Simplex)หรือเรียกว่า การสื่อสารแบบทางเดียว”(One-way Communication)เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางโดยไม่สามารถส่งข้อมูลย้อนกลับมาได้เช่น การกระจายเสียงจากสถานีวิทยุ การเผยแพร่ภาพและรายการต่างๆของสถานีโทรทัศน์ เป็นต้น
      2. แบบกึ่งสองทิศทาง ( Half Duplex)หรือเรียกว่า การสื่อสารแบบทางใดทางหนึ่ง (Either-way Communication)” เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลสามารถส่งกลับกันได้ 2 ทิศทาง แต่จะไม่สามารถส่งพร้อมกันได้ โดยต้องผลัดกันส่งครั้งละทิศทางเท่านั้น เช่น วิทยุสื่อสารแบบผลัดกันพูด
      3. แบบสองทิศทาง (Full Duplex)หรือเรียกว่า การสื่อสารแบบสองทาง (Both-way Communication)” เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้ง 2 ทิศทาง ในเวลาเดียวกัน เช่น ระบบโทรศัพท์ โดยที่คู่สนทนาสามารถพูดคุยโต้ตอบกันได้ในเวลาเดียวกัน ไม่ต้องกดสวิตซ์ เพื่อเปลี่ยนสถานะก่อนที่จะสื่อสาร
4.จงบอกคุณสมบัติของสายสัญญาณว่ามีกี่ชนิดอะไรบ้าง พร้อมให้จัดลำดับสายสัญญาณที่มีคุณภาพจากสูงไปต่ำ    คุณสมบัติของสายสัญญาณ และลำดับสายสัญญาณที่มีคุณภาพจากสูงไปต่ำ
Minimum Frequency (สูงสุด)
100 MHz
100 MHz
250 MHz
Attenuation (สูงสุด)
24 dB
24 dB
36 dB
NEXT (ต่ำสุด)
27.1 dB
30.1 dB
33.1 dB
PS-NEXT(ต่ำสุด)
N/A
27.1 dB
33.2 dB
ELFEXT(ต่ำสุด)
17 dB
17.4 dB
17.3 dB
PS-ELFEXT(ต่ำสุด)
14.4 dB
14.4 dB
12.3 dB
ACR(ต่ำสุด)
3.1 dB
6.1 dB
-2.9 dB
PS-ACR(ต่ำสุด)
N/B
3.1 dB
-5.8 dB
Return Loss(ต่ำสุด)
8 dB
10 dB
8 dB
Propagation Delay (สูงสุด)
548 nsec
548 nsec
546 nsec
Delay Skew (สูงสุด)
50 nsec
50 nsec
50 nsec

5.จงบอกหน้าที่ของอุปกรณ์เครือข่ายต่อไปนี้
    5.1 Repeater
          หน้าที่ของอุปกรณ์เครือข่าย Repeaterอุปกรณ์ทวนสัญญาณ ทำงานใน Layer ที่ 1 OSI Model เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับสัญญาณดิจิตอลเข้ามาแล้วสร้างใหม่ (Regenerate) ให้เป็นเหมือนสัญญาณ (ข้อมูล) เดิมที่ส่งมาจากต้นทาง จากนั้นค่อยส่งต่อออกไปยังอุปกรณ์ตัวอื่น
    5.2 Bridge
          หน้าที่ของอุปกรณ์เครือข่าย Bridgeอุปกรณ์ Bridge เป็นสิ่งที่ใช้แก้ไขปัญหาในเรื่องสัญญาณที่วิ่งอยู่ในเครือข่ายมากเกินไปได้โดยจะจัดแบ่งเครือข่ายออกเป็นเครือข่ายย่อยหรือ Network Segment และจะทำการกลั่นกรองสัญญาณเท่าที่จำเป็นเพื่อส่งให้กับเครือข่ายย่อยที่ถูกต้องได้
    5.3 Switch
          หน้าที่ของอุปกรณ์เครือข่าย Switch
Switch (สวิตซ์) คือ อุปกรณ์เครือข่ายที่ทำหน้าที่ใสเลเยอร์ที่ 2 Switch บางทีก็เรียกว่า Switching
Hub (สวิตชิ่งฮับ) ซึ่งในช่วงแรกนั้นจะเรียกว่า Bridge (บริดจ์) เหตุผลที่เรียกว่าบริดจ์ในช่วงแรกนั้น
เพราะส่วนใหญ่บริดจ์จะมีแค่สองพอร์ต และใช้สำหรับแยกคอลลิชันโดเมน ปัจจุบันที่เรียก
ว่า Switch เพราะหมายถึง บริดจ์ที่มีมากกว่าสองพอร์ตนั่นเอง
    5.4Gateway 
         หน้าที่ของอุปกรณ์เครือข่าย Gatewayเกตเวย์ (Gateway) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถสูงในการเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยสามารถเชื่อมต่อ LAN หลายๆ เครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลต่างกัน และใช้สื่อส่งข้อมูลต่างชนิดกันได้ อย่างไม่มีขีดจำกัด ตัวอย่างเช่น เชื่อมต่อ Ethernet LAN ที่ใช้สายส่งแบบ UTP เข้ากับ Token Ring LAN ได้หน้าที่ของอุปกรณ์เครือข่าย Gatewayเกตเวย์ (Gateway) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถสูงในการเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยสามารถเชื่อมต่อ LAN หลายๆ เครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลต่างกัน และใช้สื่อส่งข้อมูลต่างชนิดกันได้อย่างไม่มีขีดจำกัด ตัวอย่างเช่น เชื่อมต่อ Ethernet LAN ที่ใช้สายส่งแบบ UTP เข้ากับ Token Ring LAN ได้
6.จงเปรียบเทียบข้อดี ข้อจำกัดของโทโพโลยีในการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส ( Bus ) กับแบบวงแหวน ( Ring)                 โทโปโลยีแบบบัส (Bus Topology) โทโปโลยีแบบบัส บางทีก็เรียกว่า Linear bus เพราะมีการเชื่อมต่อแบบเส้นตรงซึ่งเป็นลักษณะการเชื่อมต่อที่ง่ายที่สุด และเป็นโทโปโลยีที่นิยมกันมากที่สุดในสมัยแรกๆ 
   ข้อดี
    - ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง
    - มีโครงสร้างง่ายและระบบก็มีความน่าเชื่อถือเพราะใช้สายส่งข้อมูลเพียงเส้นเดียว
    - ง่ายในการเพิ่มจุดบริการใหม่เข้าสู่ระบบ ข้อจำกัด
    - การตรวจหาข้อผิดพลาดของระบบทำได้ยาก
    - ในกรณีที่สายส่งข้อมูลเกิดเสียหายจะทำให้ระบบ ทั้งระบบไม่สามารถทำงานได้ 
     โทโปโลยีแบบวงแหวน (Ring Topology)โทโปโลยีแบบวงแหวนนี้จะใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นห่วงหรือวงแหวน การเชื่อมต่อแบบนี้สัญญาณจะเดินทางเป็นวงกลมในทิศทางเดียว และจะวิ่งผ่านคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ซึ่งจะทำหน้าที่ทวนสัญญาณไปในตัวแล้วส่งผ่านไปเครื่องถัดไป ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเครื่องใดหยุดทำงานก็จะทำให้ระบบเครือข่ายล่มเช่นกัน ข้อดี- ใช้สายส่งข้อมูลน้อยจะใกล้เคียงกับแบบ Bus
     - ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง
     - ง่ายในการเพิ่มจุดบริการใหม่เข้าสู่ระบบ - ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง- ง่ายในการเพิ่มจุดบริการใหม่เข้าสู่ระบบ ข้อจำกัด- ถ้าจุดใดจุดหนึ่งเสียหายจะทำให้ระบบทั้งระบบไม่สามารถติดต่อกันได้- ยากในการตรวจสอบข้อผิดพลาด
7. จงอธิบายความแตกต่างระหว่างเครือข่ายในระดับกายภาพ ( Physical level ) และระดับตรรก (Logical level )
     ความเป็นอิสระของข้อมูลทางตรรกะ (Logical data independence) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในระดับ
แนวคิดจะไม่ส่งผลกระทบต่อระดับภายนอก เช่น การเพิ่มเอนติตี้ , แอททริบิวท์ และความสัมพันธ์ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับแนวคิด จะไม่กระทบกับมุมมองภายนอก หรือไม่ต้องเขียนโปรแกรมใหม่
ความเป็นอิสระของข้อมูลในระดับกายภาพ (Physical data independence) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงใน
ระดับภายในไม่ส่งผลกระทบต่อระดับแนวคิด การเปลี่ยนแปลงในระดับภายในได้แก่ การใช้
โครงสร้างแฟ้มข้อมูลใหม่ หรือโครงสร้างการจัดเก็บใหม่ , ใช้หน่วยเก็บข้อมูลแบบอื่น , การแก้ไขดัชนี
หรืออัลกอริธึมแบบแฮช
8.จงอธิบายความแตกต่างของลักษณะการให้บริการเครือข่ายแบบ Peer-to-Peer และแบบ Client-Server
    Peer-to-peer (P2P) เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบclient-client โดยที่ client แต่ละเครื่องมีข้อมูลเก็บอยู่ และสามารถจำลองตนเองเป็นserver เพื่อเปิดให้ client เครื่องอื่นๆ สามารถเข้ามาโหลดข้อมูลจากเครื่องของตนเองได้โดยอาศัยพลังงานแลbandwidth ที่เครื่องตนเองมี ซึ่งจะแตกต่างกับการสื่อสารแบบ client-server ที่มี server เก็บข้อมูลไว้เพียงเครื่องเดียว และเปิดให้client เครื่องอื่นเข้ามาโหลดข้อมูล
 
แบบฝึกหัดท้ายบทที่5
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต
1.จงบอกจุดประสงค์ของการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในระยะแรกเกิดจากสาเหตุใด
    อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่พัฒนามาจากอาร์พาเน็ต (ARPAnet) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานโครงการวิจัยขั้นสูง (Advanced Research Projects Agency : ARPA ) ในสังกัดกระทรวงกลาโหมของประเทศสหรัฐอเมริกา อาร์พาเน็ตเป็นเครือข่ายทดลองที่ตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนงานวิจัยทางด้านทหารที่มีผลมาจากสงครามเย็นระหว่างกลุ่มประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์กับค่ายเสรีประชาธิปไตย ซึ่งสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศผู้นำในค่ายเสรีประชาธิปไตยที่ต้องพัฒนาเทคโนโลยีด้านการทหารให้ล้ำหน้ากว่าสหภาพโซเวียต 
การพัฒนาอาร์พาเน็ตได้ดำเนินการมาเป็นลำดับและได้มีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ถึงกันเป็นครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2512 โดยใช้มินิคอมพิวเตอร์รุ่น 316 ของฮันนีเวลล์ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (host) และมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการต่างกันและอยู่ในสถานที่ 4 แห่งคือ 
     1) มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแอนเจลิส 
     2) สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด 
     3) มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตา บาร์บารา 
     4) มหาวิทยาลัยยูทาห์ 
      อาร์พาเน็ตเป็นเครือข่ายที่ประสบความสำเร็จอย่างมากทำให้มีหน่วยงานอีกหลายแห่งเชื่อมต่อเพิ่ม มากขึ้น ทำให้อาร์พาเน็ตกลายเป็นเครือข่ายที่ใช้งานได้จริง หน่วยงานอาร์พามีการปรับปรุงใหม่ในปี พ.ศ. 2515 และเรียกชื่อใหม่ว่า ดาร์พา (Defense Advanced Research Project Agency : DARPA) และต่อมาได้โอนความรับผิดชอบอาร์พาเน็ตให้กับหน่วยการสื่อสารของกองทัพในปี พ.ศ. 2518 
เครือข่ายอาร์พาเน็ตนั้นได้มีแผนการขยายเครือข่ายและเปิดการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นโดยใช้เกณฑ์ วิธี หรือโพรโทคอล (protocol) ชื่อ คาห์น-เซอร์ฟ (Kahn-Cerf Protocol) ตามชื่อของผู้ออกแบบคือ บ๊อบ คาห์น (Bob Kahn) และวินตัน เซอร์ฟ (Vinton Cerf) ซึ่งก็คือ โพรโทคอลทีซีพี/ไอพี (Transmission Control Protocol/ Internet Protocol : TCP/IP) ที่รู้จักกันในปัจจุบัน และได้กำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ต้องการต่ออินเทอร์เน็ตใช้โพรโทคอลนี้ในปี พ.ศ. 2526 
       ในปลายปี พ.ศ. 2526 อาร์พาเน็ตได้แบ่งออกเป็นสองเครือข่ายคือ เครือข่ายวิจัย (ARPAnet) และเครือข่ายของกองทัพ (MILNET) โดยในช่วงต้นนั้นเครือข่ายทั้งสองเป็นเครือข่ายแกนหลักสำคัญภายในทวีปอเมริกาเหนือ และในช่วงเวลาต่อมาหน่วยงานหลักของสหรัฐที่มีเครือข่ายที่ใช้โพรโท คอลทีซีพี/ไอพี (TCP/IP) เชื่อมต่อเข้ามา เช่น เอ็นเอฟเอสเน็ต (NFSNet) และเครือข่ายของนาซา ทำให้มีการปรับเปลี่ยนชื่อจาก อาร์พา เป็นเฟเดอรัล รีเสิร์ช อินเทอร์เน็ต และเปลี่ยนไปเป็น ทีซีพี/ไอพี อินเทอร์เน็ต จนกระทั่งเป็นอินเทอร์เน็ต ในปัจจุบัน สำหรับประเทศไทย เริ่มเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ต่อเชื่อมโยงเพื่อส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์กับประเทศออสเตรเลีย ซึ่งทำให้ระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เชื่อมกับอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรก ในช่วงระยะเวลาเดียวกันนี้กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติได้มีโครงการที่จะเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยขึ้น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทยก็ค่อยๆ พัฒนาขึ้น

2. จงบอกความเป็นมาของการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
    เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยในระยะเริ่มต้น ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์สำหรับการวิจัยและพัฒนาที่มีชื่อว่าเครือข่ายไทยสาร (ThaiSARN : The Thai Social/Sceientific, Academic and Research Network) ก่อตั้งขึ้นราวเดือน เมษายน 2535 โดยมีการเชื่อมต่อเครือข่ ายคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค (NECTEC) ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อ มหาวิทยาลัยที่เชื่อมต่อในระยะเริ่ม ต้น ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยธรรมศ าสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยได้รับเงินอุดหนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) โดยสนับสนุนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นแม่ข่าย (Server) อุปกรณ์การสื่อสารระบบเครือข่าย พร้อมการเช่าสัญญาณสายสื่อสารจาก มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ไปยังเนคเทคเครือข่ายไทยสารนี้สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ครั้งแรกเมื่อเดือน สิงหาคม 2535 โดยผ่านทาง Gatewayที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ดำเนินการโดยสำนักวิทยบริการ) และการเชื่อมต่อไปอินเตอร์เน็ตนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเป็นค่าเช่าวงจรต่าง ประเทศแต่เพียงผู้เดียว (ในระยะเริ่มแรกเชื่อมต่อด้วยความเร็ว 9,600 bps เสียค่าเช่าประมาณปีละ 2.5 ล้านบาท) ต่อมาเมื่อมีการใช้งานมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2536 เนคเทค ได้เช่าวงจรเป็น Gateway ที่สองของประเทศไทยที่ออกไปสู่อินเตอร์เน็ต และในปัจจุบันได้มี Gateway ออกไ ปสู่อินเตอร์เน็ตเพิ่มเติมอีก เช่นที่ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ซึ่งเป็น Gateway แรกที่เปิดบริการอินเตอร์เน็ต สำหรับภาคเอกชนในประเทศไทย ในปัจจุบันมีศูนย์บริการอินเตอร์เน็ต (Internet Service Provider) สำหรับประชาชนทั่วไปมากมายเครือข่ายไทยสารได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยของรัฐเกือบทุกมหาวิทยาลัย ได้เข้าเชื่อมต่อกับไทยสารและสามารถออกสู่อินเตอร์เน็ตได้แล้ว ซึ่งในขั้นต่อไป ก็ได้มีความพยายามจะขยายเครือข่ายไทยสารอินเตอร์เน็ต ออกไปให้ครอบคลุมสถาบันการศึกษาอื่น ๆ อีก เช่น สถาบันราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และ โรงเรียนมัธยมการเชื่อมต่อเครือข่ายของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ กับไทยสาร จะอยู่ที่ความเร็วที่แตกต่างกัน และผ่านช่องทางการสื่อสาร (communication channel) ที่แตกต่างกัน ความเร็วอาจจะเป็นที่ 9,600 bps, 19.2 Kbps, 64 Kbps และใช้ช่องทางการสื่อสาร ตั้งแต่การหมุนผ่านสายโทรศัพ ท์ (Dial-up) หรือใช้วงจรเช่า (Leased line) ขององค์การโทรศัพท์ หรือการบริการจากภาคเอกชน หรือใช้ดาวเทียม เป็นต้น

3. จงยกตัวอย่างองค์กรที่ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในเชิงธุรกิจ มีอะไรบ้างและมี URL ว่าอย่างไร
    ธุรกิจการสื่อสาร เช่น DTAC มี URL ว่า https://www.dtac.co.th/?gclid=CNC_-IP_qrQCFYl66wod4ysA0A
4. จงบอกชื่อองค์กรที่รับผิดชอบในการบริหารและจัดการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตว่าชื่ออะไร
บ้าง และทำหน้าที่อะไร
    - ไอซ็อก ไอเอบี ไออีทีเอฟ และไออาร์ทีเอฟ ไอซ็อก 
สมาคมอินเทอร์เน็ต หรือ ไอซ็อก (ISOC : Internet Society) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อพ.ศ. 2535 ไอซ็อกเป็นองค์กรที่ไม่มุ่งเน้นผลกำไรและมีนโยบายสนับสนุนการใช้อินเทอร์เน็ตให้แพร่หลาย รวมทั้งสนับสนุนการจัดทำมาตรฐานอินเทอร์เน็ตโดยอาศัยไอเอบี ไออีทีเอฟและไออาร์ทีเอฟ นอกจากนี้ไอซ็อกยังทำหน้าที่สนับสนุนการวิจัยและให้ทุนในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต ไอเอบี
    - ไอเอบี (IAB : Internet Architecture Board) เป็นหน่วยงานที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2526 แต่เดิมนั้นใช้ชื่อว่า Internet Activities Board เมื่อไอซ็อกถือกำเนิดขึ้นก็ได้โอนไอเอบีเข้ามาเป็นหน่วยงานในสังกัด หน้าที่ของไอเอบีคือผลักดันและดูแลพัฒนาการด้านเทคนิคของอินเทอร์เน็ตให้กับไอซ็อก ไอเอบีดูแลองค์กรสองแห่งซึ่งดำเนินงานด้านเทคนิคโดยตรงได้แก่ไออีทีเอฟและไออาร์ทีเอฟ นอกจากนี้ไอเอบียังทำหน้าที่จัดการงานบรรณาธิการและตีพิมพ์เอกสาร อาร์เอฟซี และการกำหนดหมายเลขเพื่อใช้ในอินเทอร์เน็ต โดยไอเอบีมอบภาระงานทั้งสองนี้ให้กับ บรรณาธิการอาร์เอฟซี (RFC Editor) และ ไอนา (IANA : Internet Assigned Number Authority) ตามลำดับ ไออีทีเอฟ 
    - ไออีทีเอฟ (IETF : Internet Engineering Task Force) เป็นแหล่งรวมของคณะทำงานที่อยู่ภายใต้การดูแลโดยคณะกรรมการอำนวยการไออีเอสจี (IESG : Internet Engineering Steering Group) ไออีทีเอฟประกอบด้วยอาสาสมัคร และผู้เชี่ยวชาญร่วมมือกันพัฒนาสถาปัตยกรรมอินเทอร์เน็ต และช่วยให้อินเทอร์เน็ตดำเนินการได้โดยราบรื่น ไออีทีเอฟเป็นองค์กรที่เปิดโอกาสให้ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมทำงานได้ ไออีทีเอฟทำหน้าที่ด้านเทคนิคโดยการสร้าง ทดสอบ และนำมาตรฐานอินเทอร์เน็ตมาใช้งาน มาตรฐานอินเทอร์เน็ตจะผ่านการพิจารณาเห็นชอบโดยไออีเอสจีโดยมีไอเอบีเป็น ที่ปรึกษา งานด้านเทคนิคของไออีทีเอฟแบ่งออกได้เป็นสาขา แต่ละสาขาประกอบด้วยคณะทำงานกลุ่มย่อยที่มีผู้อำนวยการสาขา (Area Directors) เป็นผู้ดูแลจัดการ ผู้อำนวยการสาขาทั้งหมดรวมกับประธานของไออีทีเอฟจะประกอบกันเป็นไออีเอสจี ขณะปัจจุบันไออีทีเอฟจัดแบ่งออกเป็น 9 สาขาได้แก่ สาขาประยุกต์ (Applications Area), สาขาทั่วไป (General Area), สาขาอินเทอร์เน็ต (Internet Area), สาขาการดำเนินงานและการจัดการ (Operations and Management Area), สาขาการเลือกเส้นทาง (Routing Area), สาขาความปลอดภัย (Security Area), สาขาโปรโตคอลทรานสพอร์ต (Transport Area), สาขาการให้บริการผู้ใช้ (User Services Area), และสาขางานย่อยไอพี (Sub-IP Area) ทั้ง 9 สาขานี้ในปัจจุบันประกอบด้วยคณะทำงาน (Working Groups) รวมทั้งสิ้น 133 กลุ่ม ไออาร์ทีเอฟ 
    - ไออาร์ทีเอฟ (IRTF : Internet Research Task Force) เป็นแหล่งรวมของคณะทำงานวิจัยที่อยู่ภายใต้การดูแลโดยคณะกรรมการอำนวยการไออาร์เอสจี (IRSG : Internet Research Steering Group) งานของไออาร์ทีเอฟเน้นหนักงานวิจัยระยะยาวในอินเทอร์เน็ต ขณะที่ไออีทีเอฟเน้นหนักงานด้านวิศวกรรม และการจัดทำมาตรฐาน เพื่อใช้งานในปัจจุบัน ไออาร์ทีเอฟมีคณะวิจัย (Research Groups) ในด้านต่างๆได้แก่ อินเทอร์เน็ตโปรโตคอล การประยุกต์ สถาปัตยกรรม และเทคโนโลยี รวมทั้งสิ้น 12 คณะ องค์กรดูแลด้านข้อมูลและทะเบียน องค์กรในกลุ่มนี้ทำหน้าที่เชิงการจัดการด้านเทคนิคและการประสานงานเครือข่าย งานหลักส่วนหนึ่งในการดำเนินการอินเทอร์เน็ตได้แก่ การจัดสรรแอดเดรส การกำหนดค่าพารามิเตอร์และทะเบียนหมายเลขประจำแต่ละโปรโตคอล รวมทั้งการบริหารโดเมนและจดทะเบียนโดเมน งานนี้แต่เดิมอยู่ในความรับผิดชอบของ ไอนา (IANA : Internet Assigned Number Authority) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนการดำเนินงานรัฐบาลสหรัฐฯ ในปัจจุบันภาระงานนี้ได้ถ่ายโอนไปยังหน่วยงานใหม่ซึ่งก่อตั้งขึ้นใน เดือนตุลาคม พ.ศ. 2541 คือ ไอแคน (ICANN : The Internet Corporation for Assigned Names and Numbers) ไอแคนเป็นบรรษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยไม่มุ่งเน้นผลกำไร และบริหารจัดการโดยคณะกรรรมการที่ได้รับเลือกมาจากนานาชาติ ไอแลนมอบอำนาจให้ศูนย์สารสนเทศเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่แบ่งออกไปตามภูมิภาคทำหน้าที่ดูแลการจัดสรรแอดเดรสและบริหารโดเมน

5. จงบอกจุดมุ่งหมายของการใช้หมายเลข IP Address และชื่อโดเมน
     IP Address เครือข่ายอินเตอร์เน็ตใช้รหัสหมายเลขมากำหนดให้แต่ละเครือข่ายและเครื่องคอมพิวเตอร์ภานในเครือข่ายที่เชื่อมโยง เรียกหมายเลขเหล่านั้นว่า IP Address หรือ Internet Address ซึ่งการติดต่อสื่อสารบนอินเตอร์เน็ตจะอาศัยหมายเลข IP Address นี้ในการระบุเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางโดย IP Addressประกอบด้วยเลขฐานสองจำนว32บิต แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็ทำการแปลงให้เป็นเลขฐานสิบ ก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนคั่นด้วย จุด ดังนั้น หมายเลขทั้งหมดที่เป็นไปได้ โดยค่าไม่ซ้ำกันคือ 2 หรือเท่ากับ4,294,967,296 จำนวน มีค่าหมายเลขตั้งแต่ 000.000.000.000 จนถึง 255.255.255.255 หมายเลขนี้เองที่อินเตอร์เน็ตใช้กำหนดให้กับเครือข่ายและเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อ้างอิง IP Address บางหมายเลขสงวนไว้ใช้ด้วยจุดมุ่งหมายกรณีพิเศษทำให้ IP Address ที่ใช้งานทั่วไปลดลงจากจำนวนที่เป็นไปได้ ความหมายของ IP Address จะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ 
    1. กลุ่มที่ใช้เป็นรหัสประจำเครือข่าย (Network Number) 
    2. กลุ่มที่ใช้เป็นรหัสประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายในเครือข่าย (Host Number) 
IP Address ในกลุ่มรหัสประจำเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถซ้ำกันได้แต่กลุ่มรหัสประจำเครือข่ายจะซ้ำกันไม่ได้ ดังนั้นรหัสเครื่องที่ซ้ำกันจึงไม่มีผลต่อการอ้างอิงถึง นอกจากนี้เพื่อความเหมาะสมในการกำหนด IP Address ให้กับผู้ขอ ทางผู้บริหารของอินเตอร์เน็ตแบ่ง คลาสของผู้ขอ IP Address ตามขนาดของเครือข่าย เพื่อให้ ทรัพยากรส่วนนี้ถูกใช้อย่าง คุ้มค่าที่สุด องค์กรขนาดใหญ่ก็จะจัดให้อยู่ในคลา สที่สามารถกำหนด IP Address ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ในเครือข่ายได้ มาก การแบ่งคลาส จะแบ่งได้ 5 ระดับ (Class) คือ Class A, Class B, Class C, Class D, Class E แต่ที่ใช้งานในทั่ว ไปจะมีเพียง 3 ระดับคือ Class A, Class B, Class C ซึ่งแบ่งตามขนาดของเครือข่ายนั่นเอง 
     ในปัจจุบัน IP ที่อยู่ใน Class A ถูกใช้ในเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วน Class B จะใช้กับองค์กรใหญ่ เช่น Nectec ส่วน บริษัทหรือบุคคลทั่วไป 
Domain Name เป็นชื่อเรียกที่ใช้เรียกแทน IP Address ต่างๆ ที่เว็บไซต์นั้นๆ เก็บอยู่เพื่อให้ง่ายต่อการจดและเรียกใช้งาน หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดเตรียมข้อมูล เกี่ยวกับการเชื่อมโยง และการใช้อินเตอร์เน็ต คือ Inter NIC (InternetNetwork Information Center) ผู้จัดการบริการ Domain ได้ทำการจัดตั้ง DNS (Domain Name System)เป็นฐานข้อมูลที่เก็บ และระบบจัดการชื่อลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์เรียกว่า Domain Name Server โดยที่ Serverนี้ทำหน้าที่เป็นดัชนีในการเปิด ดูบัญชีหมายเลข IP Address (Lookup) จาก Domain Name ที่รับเข้ามาหรือสรุป ง่ายๆ ก็คือทำการเปลี่ยนชื่อ Domain ให้เป็น IP Addressนั่นเองส่วนของ Domain Name ประกอบด้วยส่วนที่เป็นการกำหนดประเภทขององค์กรเจ้าของเครือข่ายนอกจากนั้น Inter NIC ยังอนุญาตให้เพิ่มการระบุว่าเครือข่ายหรือองค์กรเจ้าของเครือข่ายอยู่ในประเทศใด และผู้สร้างเครือข่าย สามารถกำหนดชื่อเครือข่ายย่อยที่มี อยู่ลงไว้ใน Domain Name ได้ด้วย ส่วนประกอบย่อยของ Domain Name แยกกันด้วยจุดเช่นเดียวกับ IP Address ตัวอย่างของ Domain Name Domain Name เจ้าของ 
www.microsoft.com บริษัทไมโครซอฟต์ 
www.amazon.com ร้านขายหนังสือ Amazon 
www.nontri.ac.th มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
Domain Name ประกอบด้วย 3 ส่วน แต่ละส่วนเรียกว่า "subdomains" ซึ่งมีความหมายดังนี้ 
     ส่วนแรก บอกถึงชนิดของ Server ว่าเป็น WWW server หรือเป็น FTP server 
     ส่วนสอง เป็นชื่อของ Domain ซึ่งมักจะตั้งตามชื่อของบริษัทหรือองค์กรที่เป็นเจ้าของ 
     ส่วนสาม เป็นส่วนที่ระบุถึงชนิดและสัญชาติของ Domain นั้นๆ เช่น นามสกุลของ Domain Name คำ

6.เครือข่ายสังคมคืออะไร มีอะไรบ้างพร้อมให้ความหมายโดยย่อ                                                       
                 เครือข่ายสังคมหรือชุมชนเว็บ (Social Network or Web community) รูปแบบของห้องสนทนาถูกพัฒนาต่อมา เป็นการใช้เพื่อให้กลุ่มคนที่มีความสนใจด้านเดียวกันมาติดต่อสื่อสารกัน และมีการเลือกชื่อการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายในลับกษณะนี้ว่า เครือข่ายสังคม (Social Network) หรือ ชุมชนเว็บ (Web Community) ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการประเภทนี้ ได้แก่   
- ICQ เป็นระบบรับส่งข้อความที่เน้นการหาคู่สนทนาที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน ต่อมาได้ขยายบริการเป็นการสร้างกลุ่มผู้สนใจเรื่องเดียวกันที่จะมาพบปะกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  
- Face book เป็นเว็บไซต์หาเพื่อนอีกรูปแบบหนึ่งที่เน้นการใช้รูปใบหน้าของผต้องการหาเพื่อนเป็นสื่อเริ่มต้นสำหรับทำความรู้จัก  ผู้หาเพื่อนจะจัดทำข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Profile) พร้อมกับรูปใบหน้าของตนฝากไว้ที่เว็บไซต์ ปัจจุบันเว็บไซต์นี้ให้บริการหลากหลายรูปแบบ ทั้งห้องสนทนา กระดานข่าวสาร กลุ่มหรือชุมชนเฉพาะด้าน 
 - Hi5 เป็นเว็บไซต์เครือข่ายสังคมที่สนับสนุนให้ผู้ใช้สร้างกลุ่มสังคมของตนเองขึ้นมาโดยจัดทำข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Profile) พร้อมกับรูปกิจกรรมของตนฝากไว้ที่เว็บไซต์และเชิญชวนคนที่ตนรู้จักให้เข้ามาเยี่ยมชมและเข้ามามีส่วนร่วมในการนำเสนอเรื่องราวในรูปแบบของข้อความสั้นและภาพกิจกรรม       
 - Twitter เป็นเว็บไซต์เครือข่ายสังคมในรูปแบบที่ผู้ที่ริเริ่มจัดทำหน้าข้อมูลส่วนบุคคล (Profile Page) ของตนฝากไว้ที่เว็บไซต์ พร้อมกับข้อความสั้น (Micro blog) ที่อาจเผยแพร่ทั่วไปหร์อเผยแพร่เฉพาะภายในกลุ่มสมาชิกตามความเหมาะสมของผู้ริเริ่ม ผู้ที่เข้าไปอ่านสามารถแสดงความคิดเห็นโดยพิมพ์เป็นข้อความสั้นไปฝากไว้            
ประโยชน์ของเครือข่ายสังคม เช่น เป็นเครือข่ายที่เป็นการใช้งานเพื่อให้กลุ่มคนที่มีความสนใจด้านเดียวกันมาติดที่ติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วและไม่เสียเวลา
แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 6
 การสืบค้นและการติดต่อสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต

1.แหล่งสารสนเทศมีความสำคัญอย่างไร
   แหล่งสารสนเทศ (information sources) หมายถึง แหล่งที่มา แหล่งผลิต
แหล่งเผยแพร่และให้บริการสารสนเทศ ซึ่งอาจเป็นบุคคล สื่อมวลชน และสถาบันบริการสารสนเทศ แหล่งสารสนเทศแยกประเภทตามที่มาและลำดับการผลิต แบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ
   - สารสนเทศปฐมภูมิ (primary sources)
   - สารสนเทศทุติยภูมิ (secondary sources)
   - สารสนเทศตติยภูมิ (tertiary sources)

2.เราสามารถค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งสารสนเทศที่ใดได้บ้าง และในแหล่งนั้นๆ มีข้อมูล
สารสนเทศในรูปแบบใด
    - ห้องสมุดหรือหอสมุด (library)
    - ศูนย์สารสนเทศหรือศูนย์เอกสาร (information center or documentation center)
    - ศูนย์ข้อมูล (data center)
    - หน่วยงานทะเบียนสถิติ (statistical office)
    - ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ (information analysis center)
    - ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ (information clearing house)
    - หน่วยงานจดหมายเหตุ (archive)
    - สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ (commercial information service center)

3.จงยกตัวอย่างแหล่งสืบค้นข้อมูล(search engine) ว่ามีชื่ออะไรและมีรูปแบบและเทคนิค
การสืบค้นข้อมูลอย่างไรมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง
    แหล่งสืบค้นข้อมูล (search engine) ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ (information clearing house)
ศูนย์ ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือในการเข้าถึงแหล่ง สารสนเทศ แนะนำแหล่งสารสนเทศ (referral service) ที่เหมาะสม หรือทำหน้าที่เป็นหน่วยงานรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศแล้วแจกจ่ายไปยังผู้ที่ ต้องการ

4.จงบอกลักษณะของการบริการต่างๆ และยกตัวอย่างช่อแหล่งที่ให้บริการต่อไปนี้
    4.1 FTP หมายถึง การดาวน์โหลด หรือย้ายไฟล์ในระบบอินเตอร์เน็ตมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นเดียวกันก็สามารถนำไฟล์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปไว้ในพื้นที่เก็บข้อมูล โดยผ่านโปรแกรม FTP สามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้หลายประเภทแล้วแต่ว่าผู้ใช้จะต้องการใช้งานไฟล์ ประเภทใด จุดเด่นสามารถนำไปใช้รวมกับระบบการการทำเว็บไซต์ , เป็นช่องทางเก็บหรือส่งข้อมูลหาลูกค้าหรือภายในองค์กรได้
    4.2 E-mail การให้บริการฟรีอีเมล์ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
          1. Web Based E-mail เป็นอีเมล์ที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจัดเก็บไว้ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของ ผู้ใช้บริการ ดังนั้นทุกครั้งที่ผู้ใช้จะเข้าไปอ่านหรือส่งอีเมล์จำเป็นจะต้องเปิดเว็บ พร้อมกรอกชื่อและรหัสผู้ใช้ก่อนเข้าไปใช้บริการ และผู้ใช้สามารถเข้าสู่ระบบจากเครื่องใดก็ได้ที่สามารถเชื่อมต่อระบบเครือ ข่ายอินเทอร์เน็ต
          2. Pop Mail เป็นอีเมล์ที่สนับสนุนให้สามารถเรียกมาเปิดอ่านผ่านโปรแกรมรับส่งอีเมล์บน เครื่องของผู้ใช้ แต่เมื่อผู้ใช้ได้เปิดอ่านอีเมล์แล้วโปรแกรมจะโหลดอีเมล์มาไว้บนเครื่องของ ผู้ใช้ พร้อมกับลบต้นฉบับบนเซิร์ฟเวอร์ทิ้งไป
          3. Imap Mail เป็นอีเมล์ที่คล้ายกับ Pop Mail ซึ่งสามารถใช้โปรแกรมโหลดอีเมล์มาเปิดอ่านที่เครื่องของผู้ใช้ได้ แต่เหนือกว่านั้นคือ ผู้ใช้สามารถเห็นหัวข้ออีเมล์ก่อนที่จะโหลดข้อความ และถูกถ่ายโอนข้อมูลถึงกันทันทีหลังจากมีการเลือกเปิดอ่านอีเมล์ที่ต้องการ
    4.3 ICQ บริการนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ง่าย สามารถที่จะคุยกับเพื่อนได้สะดวก เพราะโปรแกรมจะแสดงรายชื่อของเพื่อน เมื่อมีการเปิดเครื่องขึ้น จะแสดงสถานะให้ทราบว่าเพื่อนคนใดพร้อมรับข้อความ และสามารถคุยได้คล้ายโปรแกรม IRC แต่ ICQ จะมีความเฉพาะเจาะจงกว่า เพราะทุกคนจะมีเลขประจำตัว1 เลขเสมอ สำหรับผู้เขียนได้เลข 20449588 ซึ่งทั้งโลกนี้มีผู้เขียนคนเดียวที่ได้เลขนี้
    4.4 Web board คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในลักษณะเป็น กระดานสนทนา เป็นกระดานแจ้งข่าวสาร ข้อมูล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน




แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 7
 ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

1. จงอธิบายถึงผลกระทบของเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้
    1.1 ด้านเศรษฐกิจ
     - มนุษย์สามารถจับจ่ายมากขึ้น เพราะมีบัตรเครดิตทำให้ไม่ต้องพกเงินสด หากต้องการซื้ออะไรที่ไม่ได้เตรียมการไว้ร่วงหน้า ก็สามารถซื้อได้ทันที เพียงแต่มีบัตรเครดิตเท่านั้นทำให้อัตราการเป็นนี้สูงขึ้น
     - การแข่งขันกันทางธุรกิจสูงมาก ขึ้นเพราะต่างก็มุ่งหวังผลกำไรซึ่งก็เกิด ผลดีคืออัตราการขยายตัวทางธุรกิจสูงขึ้นแต่ ผลกระทบก็เกิดตามมาคือ บางครั้งก็มุ่งแต่แข่งขันกันจนลืมความมีมนุษย์ธรรมหรือความมีน้ำใจไป
    1.2 ด้านการศึกษา
          จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาผลิตสื่อการเรียนการสอนที่เรียกว่าCAIนั้นทำให้เกิดปัญหาที่เห็นได้ชัดเจน เช่น
          - ครูกับนักเรียนจะคาดความสัมพันธ์และความใกล้ชิดกั เพราะนักเรียนสามารถที่จะเรียนได้จากโปรแกรมสำเร็จรูป ทำความสำคัญของโรงเรียนและครูลดน้อยลง
          - นักเรียนที่มีฐานะอยากจนไม่สามารถที่จะใช้สื่อประเภทนี้ได้ทำให้เกิดข้อได้ เปรียบเสียเปรียบกันระหว่างนักเรียน ที่มีฐานะดีและยากจนทำให้เห็นว่าผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจ ก็ย่อมที่จะมีโอกาสทางการศึกษาและทางสังคมดีกว่าด้วย
    1.3 ด้านกฎหมาย ศีลธรรม จริยธรรม
          - ทำให้เกิดปัญหาการว่างงานของแรงงานเพราะมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานมนุษย์อีก
          - การปรับตัวเพื่อให้ทันกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ของพนักงานที่มีอายุมากหรือมี ความรู้น้อยก็จะทำให้พวกเขาไม่สามารถปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีเหล่านี้ได้ยาก ต้องมีความรู้จึงจะเข้าใจได้
         - สมาชิกในสังคมมากรดำเนินชีวิตที่เป็นแบบต่างอยู่ไม่มีความสัมพันธ์กันภายในสังคมเพราะต่างมีชีวิตที่ต้องรีบเร่งและดิ้นรน

2.จากผลกระทบข้อที่ 1 นักศึกษาคิดว่า ผลกระทบด้านใดมีผลต่อการดำเนินชีวิตของนักศึกษามากที่สุด จงอธิบายมาพอสังเขป
   ผลกระทบด้านเศรษฐกิจที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต 
    - การขนส่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และสิ่งแวดล้อมของแต่ละประเทศ เป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะการพัฒนาระบบการขนส่ง ย่อมมีส่วนผลกระทบต่อการพัฒนาระบบอื่นๆ ของประเทศด้วย การพัฒนาระบบการขนส่งที่ดีย่อมทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายผลผลิตจากภาคชนบทสู่ ตัวเมือง ทำให้คนชนบทมีรายได้ดีขึ้นแต่ก็ส่งผลกระทบให้ประชาชนในชนบทในชนบทเปลี่ยนการ ดำรงชีวิตที่แตกต่างไปจากเดิม

3.จงบอกผลดีของการนำเทคโนโลยีมาใช้ ในด้านการเรียนและการดำรงชีวิตประจำวันของนักศึกษา
    ผลดีของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในด้านการเรียนและการดำรงชีวิตประจำวัน
      1. เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ
      2. เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้และเข้าใจในความแตกต่างระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ
      3. เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญ ประเภทของสารสนเทศ
      4. เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับแหล่งสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศ

4.จงบอกผลเสียของการนำเทคโนโลยีมาใช้ ในด้านการเรียนและการดำรงชีวิตประจำวัน
ของนักศึกษา
    - ผลเสียของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในด้านการเรียนและการดำรงชีวิตประจำวัน
    - มีผลต่อความคิดและพฤติกรรมของมนุษย์
    - เกิดการแพร่กระจายของข้อมูลที่เป็นเท็จมากขึ้น
    - เกิดข้อมูลหลอกลวง
    - มีผลกระทบต่อการศึกษา ผู้เรียน เด็ก ติดเกม มากขึ้น
    - เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์
    - เป็นช่องทางในการเกิดอาชญากรรม